การพัฒนาเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กัลยาณี กิ่งมะนาว
ศิรภัสสร์ อินทรพาณิชย์
จุฑาทิพย์ ฐานมั่น

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัค ติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ ก่อนและหลังการเรียนด้วยเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อวัดระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านช่อระกา อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน ที่ได้จากการเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการคำนวณ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา 2) เว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น 3) แบบประเมินคุณภาพของเว็บเพจเพื่อการศึกษา เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเว็บเพจเพื่อการศึกษา เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าสถิติ (Dependent t-test) โดยนำผลที่ได้เทียบกับเกณฑ์การประเมิน
      ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 โดยมีค่าเฉลี่ย 86.3/87.1 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเว็บรายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน ด้วยเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวัดระดับความพึงพอใจหลังเรียนด้วยเว็บเพจเพื่อการศึกษาโดยใช้การเรียนแบบแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Scratch เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจที่ชอบมากที่สุดต่อการเรียนด้วยเว็บเพจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนวิทย์ เหลืองอร่าม. (2541) Internet และการใช้ World Wide Web. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดเคชัน.

ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

ลักษ์ณภา แก้วคำแจ้ง, สุขมิตร กอมณี และภูเบศ เลื่อมใส. (2563) การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพล แสนบุญส่ง, ชื่นกมล เพ็ชรมณี และธนารีย์ ปี่ทอง. (2563) การพัฒนาเว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อการเรียนรู้ เรื่องหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล.วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(1), 39-51.

สยาม นามสน, ไชยยศ เรืองสุวรรณ, และนิคม ชมภูหลง. (2558). การเปรียบเทียบผลการเรียนรูด้วยบทเรียนบนเว็บกับการเรียนแบบปกติ เรื่อง การสร้างเว็บเพจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(2), 157-166.

อดิศักดิ์ คันธโรรส. (2559) การพัฒนาเว็บเพจเพื่อการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อุษมาพร รินทรึก. (2561). บทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อานนท์ ศรีดอกบัว และ ชัยยศ ดารงกิจโกศล. (2563) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ เรื่อง ผลกระทบของอากาศพลศาสตร์ต่อยานยนต์ ด้วยโปรแกรม Google Site. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.