การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหินพนมรุ้งบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของสื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหินพนมรุ้งบุรีรัมย์และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1. การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหินพนมรุ้งบุรีรัมย์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน 2. แบบประเมินคุณภาพของสื่อเทคโนโลยีความจริงเสมือนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพสื่อ ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมคือ ภาพเคลื่อนไหว สถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหินเขาพนมรุ้ง 2) สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวปราสาทหินพนมรุ้งบุรีรัมย์พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.36 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 3 ) ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบว่ามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.64 ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชย ปราการจำกัด อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เจริญ รุ่งกลิ่น , ธนวัฒน์ชินสำราญวงศ์, กิตติภูมิแซ่ลิ่ม และรามิลศร เชาว์ช่าง. (2561). การพัฒนา เว็บไซต์ พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่แบบเสมือนจริง,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
นิสรีน พรหมปลัด (2560) การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะอิสลาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นฤมล แสงพรหม. (2560). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). (พิมพ์ครั้งที่ 2) นครราชสีมา: โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ. (2559). สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล,สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ :สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ธัญพร กุลพรพันธ์. (2558) . ระบบสารสนเทศอ้างอิงตำแหน่งเพื่อการนำเสนอข้อมลูในสถานที่ท่องเที่ยวด้วยวิดีโอ 360 องศา กรณีศึกษา โบราณสถานวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาค. (2545). การวิจัยเบื้อนต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559) BRANDING 4.0. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2560). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและคุณภาพเครื่องมือสาหรับการวิจัย อุตรดิตถ์: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). ความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ:
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2554). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 119-128
ศุภกร ยงพิพัฒน์. (2559). การพัฒนาระบบสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติด้วย Augmented Reality. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมทรง เหมวัล. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิทางการเรียนและความพึงพอใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สุรชัย ประเสริฐสรวย.(2559). การพัฒนาแบบจำลองโลกเสมือนจริงสำหรับบทเรียนมัลติมีเดีย ปฏิสัมพันธ์ด้วย Augmented Reality. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์