สื่อการเรียนรู้ด้วยจักรวาลนฤมิตของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อุดรธานี

Main Article Content

สมปราชญ์ อุส่าห์
ส่งศักดิ์ ศรีบุญเรือง
สุทธิกานต์ จักรพันธ์
นิพล สังสุทธิ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อุดรธานี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยจักรวาลนฤมิต แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 33 คน ได้มาจากการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง Purposive  sampling สถิติที่ใช้คือ Dependent t-test
             ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต เรื่องความรู้เกี่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จังหวัดอุดรธานี มีประสิทธิภาพ 81.50/74.25 2) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่ต่อสื่อการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ อุดรธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.54, S.D. = 0.59)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร พละสนธิ. (2559). การพัฒนารูปแบบคลาวด์เลิร์นนิงแบบสตรีมด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และ อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติ เสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 23-28.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). E-instructional design วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงคราญ ศรีสะอาด. (2556). การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนจากเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/กรุงเทพฯ.

ปภาณิน สินโน. (2558). ชุดการสอนความเป็นจริงเสริม เรื่อง ชนิดพรรณไม้สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Online), 7(3), 39-45.

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2561). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 357-365

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 41(182), น. 15-16.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2556). การพัฒนาสื่อ Augmented Reality ด้วยโปรแกรม Processing และ OpenSpace3D. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล บุญลือ. (2559). สมาร์ทคลาสรูม ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ในโครงการพัฒนาการเรียนรู้ แบบบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิชาชีพด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 5(1), 1-6

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาวิเคราะห เพื่อพัฒนาและจัดทําฐาน ขอมูล และสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและการตัดสินใจเชิงนโยบายของหนวยงานสวนกลาง. (พิมพครั้งที่ 1.) กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2560). การพัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง 2 มิติแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและ เทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Klopfer and quire (2008). Environmental Detectives—the development of an augmented reality platform for environmental simulations. Educational Technology Research and Development 56(2):203-228 DOI:10.1007/s11423-007-9037-6.