ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง วัสดุและเครื่องมือพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุดรพัฒนาการ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง รวม 23 คน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 2) แบบประเมินทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) จำนวน 15 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 2) ทักษะในการแก้ปัญหาโดยใช้วัสดุและเครื่องมือพื้นฐานของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 91.63 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในระดับมาก ( = 4.34)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตใส เกตุแก้ว. (2556). ความพึงพอใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการพัฒนาครูด้วยชุดฝึกอบรม e-Trainin. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2560). รูปแบบการเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในศตวรรษที่ 21. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ชุติมา โรจนสโรชน์. (2555). ผลของวงจรการเรียนรู้แบบ 5E เสริมด้วยผังมโนทัศน์รูปตัววีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ปาลิดา มาจรัล และ ไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ. (2555). การพัฒนามโนมติเชิงวิทยาศาสตร์เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม, 2563 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เทคโนโลยี (การออกแบบเทคโนโลยี). (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
สรวินท์ ปูคะภาค. (2559). วัสดุวิศวกรรม. [เอกสารประกอบการสอน]. อุดรธานี: คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อุไรวรรณ ปานีวงค์, จิต นวนแก้ว และ สุมาลี เลี่ยมทอง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิค การจัดแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ ความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1). 134-147.