แนวทางป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
คำสำคัญ:
แนวทางป้องกัน, ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น, การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ.บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ พบว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นมักจะเกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นที่ถูกเชื่อมโยงกับการใช้อำนาจอันได้มาจากหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากประชาชนผู้ใช้บริการที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นนับเป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกส่งผลกระทบต่อประเทศและระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อองค์กรตำรวจที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานสะสมเรื้อรังเป็นมะเร็งร้ายกัดกินสังคมส่งผลกระทบต่อระบบองค์กร สำหรับตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายโดยจะทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีอำนาจในการจับกุม ตรวจค้น สืบสวน และสอบสวนผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอันดับแรก ในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ตำแหน่งหน้าที่มาแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบได้ สำหรับแนวทางป้องกัน ด้านเศรษฐกิจและการครองชีพส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความพอประมาณ พอดี ใช้ชีวิตอยู่บนหลักการอย่างมีเหตุมีผล รอบรู้ มีคุณธรรม ด้านระบบบริหารราชการ ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ดำเนินตามหลักนิติธรรม มีคุณธรรมและความโปร่งใสพร้อมทั้งความรับผิดชอบและจะต้องมีความคุ้มค่า ด้านสังคมวัฒนธรรมและศีลธรรมดำเนินตามกรอบของประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดไว้แล้วและด้านกฎหมายและวิธีการ เป็นการกำกับดูแลให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่ช่วยในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอยู่ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ เพื่อให้ตำรวจเป็นผู้มีความเหมาะสมเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่คอยดูแลประชาชนให้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างสันติสุขด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม
Downloads
References
กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ และคณะ. (2557). การทุจริตในวงราชการไทย: การสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาจากผู้นำและบุคคลสำคัญของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 18,35 (กรกฎาคม.-ธันวาคม 2557).
เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์, พ.ต.ท.ดร. และคณะ. (2553). การศึกษามาตรการป้องกันเพื่อปรับปรุงกระบวนการใช้อำนาจเกินขอเขต กรณีเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ.
กำชัย จงจักรพันธ์. (2550). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ชาย เสวิกุล. (2517). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณภัทร เตโช และคณะ. (2560). แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในส่วนราชการไทย. หลักสูตรนักบริหารเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับกลางรุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมกาป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
ธีรภัทร เสรีรังสรรค์. (2549). นักการเมืองไทย: จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชั่นสภาพปัญหาสาเหตุผลกระทบ แนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สายธาร.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2562.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. “ตำรวจ”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/ [1 เมษายน 2566].
ผู้จัดการออนไลน์. เผยที่แรก! ทรัพย์สินผู้กำกับโจ้กว่า 1,500 ล้าน บัญชีธนาคารเดินกันให้สะพัดทั้งที่รับราชการแค่ 17 ปี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000067475 [9 พฤษภาคม 25666].
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2543). ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
ดิฐภัทร บวรชัย. (2562). รูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษาระดับสถานีตำรวจ. วารสารบริหารการศึกษา มศว. ปีที่ 16 ฉบับที่ 30 มกราคม – มิถุนายน 2562: 56-57.
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ. (2554). ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงการธุรกิจเอกชนไทยกับแนวทางแก้ไขและป้องกัน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ป.ป.ช.
มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์และคณะ. (2551). การศึกษาลักษณะรูปแบบและความเสี่ยงต่อการทุจริตในองค์กรสาธารณะนอกระบบราชการ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
วิชัย รูปขาดี. (2552). การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปี 2552. นนทบุรี: สถาบันบัณฑิตนบริหารศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138, ตอนพิเศษ 204 ง, 1 กันยายน 2564, หน้า 51-52.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116/ตอนที่ 114 ก/หน้า 1/17 พฤศจิกายน 2542.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2554). คอร์รัปชั่นเชิงระบบ: นวัตกรรมที่ต้องควบคุม. รัฐศาสตร์สาร. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2554).
เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ. (2553). โครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ. 5 เกร็ดว่าด้วยคำศัพท์เกี่ยวกับตำรวจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://themomentum.co/wordodyssey-police/ [1 เมษายน 2566].
Carl Joachim Friedrich. (2007). Constitutional Government and Politics, Nature and Development. New York: McGraw-Hill.
Mushtag H. Khan and Kwame Sundaram Jomo. (2000). Rent, Rent-Seeking and Economic Development. Singapore: Cambridge University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.