การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

สำหรับผู้เขียนบทความในวารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ เบื้องต้นจะต้องปฏิบัติดังนี้

1. บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

2. ผู้เขียนบทความต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้ง เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

3. หากผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้เขียนควรดำเนินการตามหลักจริยธรรมปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ทดลองประกอบด้วยทุกครั้ง

4. ผู้เขียนบทความต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่นๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์แล้ว

5. ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้นๆ จริง

การเตรียมต้นฉบับบทความ

การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่นๆ มีดังนี้

1. ภาษา เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น ให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยวงเล็บภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่ บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะส่งต้นฉบับ

2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ โดยจัดหน้ากระดาษขนาด A4 ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร)

3. จำนวนหน้า บทความวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ และบทความวิชาการ ตั้งแต่หัวข้อเรื่องจนถึงบรรณานุกรมควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า กระดาษ ขนาด A4

การเรียงลำดับเนื้อหา

1. บทความวิจัย มีองค์ประกอบดังนี้

1.1 ชื่อเรื่อง ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย ไม่ใช้คำย่อชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยมาก่อน

1.2 ชื่อผู้นิพนธ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด และอีเมลของผู้เขียนหลักและร่วม

1.3 บทคัดย่อ (abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเนื้อความย่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย โดยเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลงานและการวิจารณ์อย่างต่อเนื่องกัน มีความยาว 350 คำ และไม่ควรเกิน 500 คำ หรือมีความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 ไม่ควรมีคำย่อ ให้บทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ

1.4 คำสำคัญหรือคำหลัก (Keywords) ให้ระบุทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา จำนวนไม่เกิน 5 คำ

1.5 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาหรือบทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมาและเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลทางวิชาการพร้อมทั้งจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้องอย่างคร่าวๆ และมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาและวิจัยนั้นด้วย

1.6 วิธีดำเนินการวิจัย ให้ระบุรายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวนลักษณะ เฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายวิธีการศึกษา หรือแผนการทดลองทางสถิติ การสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

1.7 ผลการวิจัย แจ้งผลที่พบตามลำดับหัวข้อของการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจนได้ใจความถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลขมาก ตัวแปรมาก ควรใช้ตารางแผนภูมิแทน ไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง หรือแผนภูมิ ควรแปรความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

1.8 อภิปรายผล ชี้แจงว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นและมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป

1.9 ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็น และต้องมีคำอธิบายสั้นๆแต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วนในกรณีที่เป็นตาราง คำอธิบาย ต้องอยู่ด้านบน ในกรณีเป็นรูปภาพหรือแผนภูมิคำอธิบายต้องอยู่ด้านล่าง

1.10 บรรณานุกรม สำหรับการพิมพ์เอกสารอ้างอิง ทั้งเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยมีหลักการทั่วไป

สำหรับรูปแบบการเขียนสามารถ Download ได้ที่  Word / PDF

2. บทความวิชาการ มีองค์ประกอบดังนี้

2.1 ชื่อเรื่อง

2.2 ผู้แต่ง

2.3 บทนำ

2.4 เนื้อหา

2.5 บทสรุป

3.6 บรรณานุกรม

สำหรับรูปแบบการเขียนสามารถ Download ได้ที่ Word / PDF

3. บทวิจารณ์หนังสือ มีองค์ประกอบดังนี้

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ

3.2 ชื่อผู้วิจารณ์

3.3 บทวิจารณ์

3.4 บรรณานุกรม

สำหรับรูปแบบการเขียนสามารถ Download ได้ที่ [Word / PDF]

4. งานวิชาการอื่นๆ

กรอบในการเขียนให้ใช้ในกรณีเดียวกันกับงานวิชาการข้างต้น

การส่งต้นฉบับ

- E-mail: โดยส่งไฟล์เวิร์ด (word) และไฟล์ Pdf. ไปที่ srisuvarna2567@gmail.com

- สามารถส่งได้ด้วยตนเองที่กองบรรณาธิการวารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 249 ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทร. 062 697 8932 (ดร.เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย)

รูปแบบการเขียนอ้างอิง

[Download File Pdf]

1. พระไตรปิฎก/คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

(ชื่อคัมภีร์/(ไทย/บาลี)/เล่ม/ข้อ/หน้า,/ฉบับ,/ปีที่พิมพ์)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(ที.ปา. (ไทย) 11/182/112, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539)

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(ขุ.เถร. (บาลี) 26/722/369, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535)

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(องฺ.ปญฺจก. (ไทย) 22/177/295, มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2536)

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

(องฺ.ติก.อ. (ไทย) 15/59/217, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557)

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

**หมายเหตุ: เครื่องหมาย / หมายถึง เคาะเว้นวรรค 1 ระยะ

2. หนังสือทั่วไป (มีผู้แต่ง 1 คน)

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(สนิท ศรีสำแดง, 2528: 10)

สนิท ศรีสำแดง. (2528). ปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์

(Suzuki, D.T., 1999: 30)

Suzuki, D.T. (1999). The Lankavatara Sutra: A Mahayana Text. Ddlhi: India Motilal Banarsidess Publishers Private.

3. หนังสือทั่วไป (มีผู้แต่ง 2 คน)

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ผู้แต่ง 1/ และผู้แต่ง 2,/(ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ผู้แต่ง 1/ และผู้แต่ง 2./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(รุ่ง แก้วแดง และชัยณรงค์ สุวรรณสาร, 2536: 65)

รุ่ง แก้วแดง และชัยณรงค์ สุวรรณสาร. (2536). แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผลและประสิทธิภาพองค์การ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(Prebish. C.S. and Keown.D., 2006: 25)

Prebish. C.S. and Keown. D. (2006). Introduction to Buddhism. London: Rougtledge.

4. หนังสือทั่วไป (มีผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป)

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง และคณะ,/ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ผู้แต่ง 1/ และคณะ/(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ และคณะ, 2542: 60)

ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ และคณะ. (2542). เศรษฐศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

 

* กรณีเป็นหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “et al.” แทน

(Moreau G, et al., 1984: 50)

Moreau G, et al. (1984). Le service daccompanement spiritual dela maison Sarrazin. College de France: Quebec.

5. หนังสือที่มีชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์เหมือนกัน แต่ชื่อหนังสือต่างกัน

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), 2546ก)

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546ก). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), 2546ข)

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(Reeves, G., 2008a)

Reeves, G. (2008a). The Lotus Sutra: A Contemporary Translation of a Buddhist Classic. Boston. USA: Wisdom Publications.

(Reeves, G., 2008b)

Reeves, G. (2008b). The Lotus Sutra. Boston: Wisdom Publications.

6. หนังสือแปล (จะใช้รูปแบบเหมือนกันหนังสือทั่วไป แต่จะต้องมีชื่อนามสกุลของผู้แปลเพิ่มเข้ามาด้วย)

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./ชื่อ/สกุล (ผู้แปล)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(พระอุปติสสเถระ, 2554: 20)

พระอุปติสสเถระ. (2554). วิมุตติมรรค. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ (ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พิมพ์ศยาม.

(Laplace, P.S., 1951: 30)

Laplace, P.S. (1951). A philosophical essay on probabilities. F. W. Truscott & F. L. Emory, (Trans). New York: Dover.

7. การอ้างอิงหนังสือทุติยภูมิ

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์,/อ้างถึงใน/ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./พิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์ :/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(Wilson, 1940, อ้างใน ประภาศรี สีหอำไพ, 2540: 37)

ประภาศรี สีหอำไพ. (2540). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(Smith, 2015, as cited in Jonson, 2019: 20)

Jonson, S. (2019). On the origin of sin. Penguin Books.

8. วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/หน้า)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ชื่อปริญญาวิทยานิพนธ์, ดุษฎีนิพนธ์ หรือสารนิพนธ์./ คณะ,/สาขาวิชา (ถ้ามี),/ ชื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(วัชระ งามจิตรเจริญ, 2544: 50)

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2544). นิพพานในพุทธปรัชญาเถรวาท: อัตตาหรืออนัตตา. วิทยานิพนธ์อักษร ศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

(ประพจน์ อัศววิรุฬหการ, 2523: 40)

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2523). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์เถรวามและคัมภีร์มหายาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

(จักรเทพ รำพึงกิจ, 2551: 57)

จักรเทพ รำพึงกิจ. (2551). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ในยุคปัจจุบัน. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

(Boroughs, B.B.S., 2010)

Boroughs, B.B.S. (2010). Social networking websites and voter turnout. Master’s thesis. Georgetown University, Faculty of the Graduate School of Arts and Sciences.

9. รายงานการวิจัย

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/หน้า))

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./รายงานกาวิจัย, สถานที่พิมพ์:/ชื่อหน่วยงาน หรือสำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2544: 45)

ปรีชา ช้างขวัญยืน, ศาสตราจารย์. (2544). ทุนนิยมกับพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

(Emma Tomalin, 2015: 20)

Emma Tomalin. (2015). Buddhism and Development: A Background Paper. Research Report. Department of Theology and Religious Studies, University of Leeds Research Associate, Religious and Development Research Programme.

10. บทความจากวารสาร

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่พิมพ์:/เลขหน้าบทความทั้งเรื่อง)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่):/เลขหน้าบทความทั้งเรื่อง.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(รัฐพล พรหมมาศ, 2566: 1-12)

รัฐพล พรหมมาศ. (2566). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับนักศึกษากลุ่มเจนเนอเรชั่น ซี ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์, 1(3): 1-12.

(Herbs-Damm, K.L., & Kulik, J.A., 2005: 225-229)

Herbs-Damm, K.L., & Kulik, J.A. (2005). Volunteer support, marital status, and the survival times of terminally ill patients. Health Psychology, 24, 225-229.

11. บทความจากหนังสือพิมพ์

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้เขียน,/ปีที่พิมพ์)

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์, วัน เดือน)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์:/หน้า.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(สุชาติ เผือกสกนธ์, 2549)

สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน: 13.

(Schwartz, J., 1993)

Schwartz, J. (1993, September 30). Obesity affects economic, social status. The Washington Post: A1.

12. ราชกิจจานุเบกษา

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อพระราชบัญญัติ,/ปีที่พิมพ์)

ชื่อพระราชบัญญัติ./(ปีที่พิมพ์,/วันที่/เดือน)./ราชกิจจานุเษกษา./เล่มที่/ตอนที่,/หน้า.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(ราชกิจจานุเษกษา, 2560)

กฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรณนา พ.ศ. 2559. (2560, 27 มกราคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 12 ก, หน้า 41-51.

13. การสัมภาษณ์

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้ที่ให้สัมภาษณ์./ วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์)

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์./ตำแหน่ง, สถานที่ทำงาน (ถ้ามี)./ วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์./สัมภาษณ์

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(ศิวนาถ  ฤชุพันธุ์, 9 กุมภาพันธ์ 2566)

ศิวนาถ  ฤชุพันธุ์. นายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. 9 กุมภาพันธ์ 2566. สัมภาษณ์.

(Pardee, H.N., 2006, November 8)

Pardee, H.N. Professor of Economics and Political Science, University of California. (2006, November 8). Interview.

14. บทความจากเว็บไซต์ (Website)

 

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง,/[ออนไลน์], วันเดือนปีที่เข้าถึง)

ชื่อผู้แต่ง./ชื่อบทความ./[ออนไลน์]./แหล่งที่มา:/[วัน เดือน ปีที่เข้าถึง].

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(วสิษฐ เดชกุญช, [ออนไลน์], 30 กรกฎาคม 2564)

วสิษฐ เดชกุญชร. เลี้ยงลูกให้เป็นโจร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://palungjit.org/threads/เลี้ยงลูกให้เป็นโจร.79356/ [30 กรกฎาคม 2564].

(Kelly Iverson, [Online], 29 November 2023)

Kelly Iverson. Everything You Need to Know About Buddhism in Thailand. [Online]. Retrieved from: https://theculturetrip.com/asia/thailand/articles/everything -you-need-to-know-about-buddhism-in-thailand [29 November 2023].

15. บทความจากเอกสารการประชุม/สัมมนาทางวิชาการ

การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์:/หน้าที่นำมาอ้างอิง)

ผู้แต่ง./ (ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องบทความ./ ใน/ ชื่อบรรณาธิการ (บก.),/ ชื่อการประชุม./ สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

(มะลิ ทิพพ์ประจง, 2566: 162-167)

มะลิ ทิพพ์ประจง. (2566). นโยบายองค์กรในยุคดิจิทัล. ใน ดร.เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย (บก.). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 “สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ: ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม”. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(Deci, E.L., & Ryan, R.M.,1991)

Deci, E.L., & Ryan, R.M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on Motivation: Vol. 38. Perspectives on motivation. Lincoln: University of Nebraska Press.

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ