การบริหารการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
การบริหารการศึกษา, คณะสงฆ์ไทย, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการบริหารการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันคณะสงฆ์ไทยมีการจัดการศึกษาอยู่ 4 ลักษณะ ได้แก่ การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา การศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์ ดังนั้น ภายใต้ทักษะที่สำคัญ 3 อย่าง คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิต และการทำงาน และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยจึงควรมีรูปแบบการจัดการศึกษา และแนวทางการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เป็นส่วนสำคัญที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบการศึกษาทั่วโลก ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 2) ด้านทักษะชีวิต และการทำงาน กระบวนการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและความรู้ที่สำคัญสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจรวมถึงทักษะทางการสื่อสารการเรียนรู้ทางอารมณ์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมการทำงานและชีวิตประจำวันในสังคมของวันนี้และอนาคต และ 3) ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาทักษะและความรู้ในสถานศึกษาและชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบัน ดังนั้น การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีมีความสำคัญมากในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนและบุคคลในสังคมในยุคปัจจุบัน
Downloads
References
ปัญญา คล้ายเดช และคณะ. (2564). การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ เพื่อรองรับการพัฒนาสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 8(2). 141- 153.
ปุนภพ ปรมาธิกุล. (2562). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการสะเต็มศึกษา แบบเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พุทธศักราช 2562. (16 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 11 – 21.)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (14 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1.)
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิและวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัน ธีรัญญ์. (2561). ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: Life and Career Skills. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.runwisdom.com/2018/05/life-andcareer-skills.html (10 มีนาคม 2567).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ตถาตา : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : บุญศิริการพิมพ์.
อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. วารสาร Teacher Weekiy. 5(1),1-2.
เอกชัย พุทธ. (2558). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Barnard, Chester L, (1962). Organization and Management. Cambridge, Mass: Harvard University Press.
Sergiovanni, Thomas J.(1992). Educational Governance and Administration. Massachusetts : Allyn& Bacon.
Simon, Herbert A.,Smithburg, Donald W., and Thompson,Victor.(1950). A Public Administration. New York : Alfred Aknopt.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.