การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่า กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านเนินสมบัติ ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • อนุกูล รัชตวงษ์ ส่วนการศึกษา เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ชุมชน, การอนุรักษ์ผืนป่า

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่าของป่าชุมชนบ้านเนินสมบัติ และ (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่าของป่าชุมชนบ้านเนินสมบัติ จากผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งในด้านการเสนอปัญหาที่พบ เสนอแนวทางการแก้ไขและพัฒนาร่วมกัน ตัดสินใจแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการร่วมติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาและอุปสรรคจากทำกิจกรรมด้านการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ พบว่า (1) งบประมาณในการดำเนินงานบริหาร จัดการไม่เพียงพอ (2) ปัญหาเรื่องการขาดการประชุมร่วมกันในแต่ละครั้ง เหตุเพราะภาระหน้าที่ของคณะทำงานในแต่ละคน (3) ปัญหาการขาดแกนนำรุ่นที่สองและรุ่นต่อๆ ไป และ (4) รายได้จากการดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนงานจิตอาสาของคณะทำงานยังมีไม่เพียงพอ ในส่วนข้อเสนอแนะมีดังนี้ (1) ภาครัฐควรจัดหาช่องทางการตลาด และสนับสนุนการตั้งกลุ่มการสร้างผลิตภัณฑ์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และการท่องเที่ยว ในพื้นที่ของชุมชน (2) ภาครัฐควรสนับสนุน และเผยแพร่แนวทางการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ (3) ภาครัฐ ควรมีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส.

จรัญ ประจันบาล, วิชัย ปทุมชาติพัฒน์, สาธิต โกวิทวที และพิชาภพ ปรีเปรม. (2557). ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. นนทบุรี: วนิดาการพิมพ์.

จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารท้องถิ่น ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เจมส์ แอล. เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. แปลโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์, ดร.ถวิลวดี บุรีกุล, ผศ.ดร.เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

ฐิตาภรณ์ เวียงวิเศษ และอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านเมืองแก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธเรศ ศรีสถิต. (2560). เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการกำกับดูแลโรงงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2537). การมีส่วนร่วมของประชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การสวนพฤกศาสตร์. กระเจียวสุพรรณ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.mnre.go.th/th/news/detail/135092. [25 กุมภาพันธ์ 2567].

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2024