การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • พระครูสิริพุทธิศาสตร์ (ขนฺติโสภโณ) วัดสุคนธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พุทธธรรม, แก้ไข, ปัญหาชีวิต,, สังคมร่วมสมัย

บทคัดย่อ

คำสอนในพระพุทธศาสนา สอนให้คนเรารู้จักความจริงของธรรมชาติและชีวิตให้รู้จักตนเองพิจารณาแก้ไขปัญหาของตนด้วยหลักเหตุผล หลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า พุทธธรรม “พุทธธรรมเป็นการแนะแนวต้นแบบ ส่งเสริมให้บุคคลรู้จักช่วยตนเองยอมรับศักยภาพของมนุษย์ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้รู้จักในเงื่อนไข เหตุปัจจัยและวิธีการแก้ไข ผู้ที่ปฏิบัติชอบตามแนวทางพุทธธรรมจะเกิดภาวะความประพฤติหรือการดำเนินชีวิต ที่เรียกว่า มีศีล ประกอบแต่กุศลกรรม คือ ไม่มีความโลภ โกรธ หลง ปราศจากอวิชชา ตัณหา และอุปาทานมาครอบงำ และเป็นการกระทำด้วยใจที่เป็นอิสระผลที่ตามมา คือ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีสุขภาพกายและจิตดี เป็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงกล่าวได้ว่าปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้นทั้งทางปัจจัยภายนอก เช่น เมื่อเศรษฐกิจทรงตัวหรือซบเซา ทำให้รายได้ของเราลดน้อยลงและปัญหาชีวิตเกิดจากปัจจัยภายใน คือ ตัวเราเอง สิ่งที่ทำให้ตัวเราเองเกิดปัญหา คือ กิเลส ซึ่งมีกิเลสตัวใหญ่หรือตัวสำคัญ สามารถแก้ไขได้ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสังคมร่วมสมัย หรือสังคมอื่นใด ด้วยหลักพุทธธรรม ของพระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า การแก้ปัญหาชีวิต ต้องแก้ความโลภด้วยการให้บริจาค แบ่งปันสิ่งของให้แก่บุคคลอื่น แก้ความโกรธด้วยการเจริญเมตตา คิดช่วยให้คนอื่นมีความสุข แก้โมหะความเขลาความไม่ฉลาดด้วยการเจริญจิตภาวนาและที่สำคัญ คือ การแก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักธรรมะง่ายๆ คือ การรักษาศีล สมาธิและปัญญา เอาศีล 5 มาช่วยตัดสินปัญหา ไม่ใช้เอาความรุนแรงตัดสินปัญหา พยายามแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี จะทำการดำเนินชีวิตของทุกท่านมีความสุขในสังคมร่วมสมัยอย่างแน่นอน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ความรู้ด้านหลักพุทธธรรม ตอนที่ 2. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://marin222. wordpress.com [20 มกราคม 2566].

ธนภณ สมหวัง. (2543). พุทธธรรม: คู่มือมนุษย์ศตวรรษที่ 21. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 11 มกราคม 2543.

พรรณพิมล หล่อตระกูล, พญ. (2555). บทความสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์ในเครือสำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม.

พุทธธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/ [16 สิงหาคม 2566].

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาคย์ อินทองคง. (2550). การใช้หลักพุทธธรรมนําการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพองค์รวม. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ (ศรช.).

อนุมงคล ศิริเวทิน.(2554). หลักศาสนากับการบริหารงานยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: จงลักษณ์การพิมพ์.

04

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023