พลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในหลักสูตรข้ามศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระธีรวัฒน์ อั้นเต้ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สถาบันอุดมศึกษา, การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา, หลักสูตรข้ามศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในหลักสูตรข้ามศาสตร์  ผลศึกษาพบว่า การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม พัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น พัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา และผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ การพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในยุคภาวะวิกฤตผู้เรียนเพื่อความอยู่รอดของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การสร้างความเป็นเลิศ การสร้างและรักษาคนเก่ง การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างความแตกต่าง และการสร้างความรู้ใหม่และทำลายความรู้เก่า โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามศาสตร์การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์จะเป็นการให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ แบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ แนวคิดข้ามศาสตร์ 7 ประการ ได้แก่ แบบแผน สาเหตุและผลกระทบ กลไกและการอธิบาย มาตราส่วน สัดส่วน และปริมาณ ระบบและแบบจำลองของระบบ พลังงานและสสาร การไหล วัฏจักร และการอนุรักษ์และความคงที่และการเปลี่ยนแปลง การบูรณาการแบบข้ามศาสตร์ มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้ ข้อดีของการนำหลักสูตรข้ามศาสตร์มาใช้ ได้แก่ สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของ กิจกรรม ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน และผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง และข้อจำกัดของการนำหลักสูตรข้ามศาสตร์มาใช้ ได้แก่ มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน และผู้สอนต้องควบคุมการเรียนให้ทันตามกำหนด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลัญญู เพชราภรณ์. (2563) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eledu.ssru.ac.th/kalanyoo_pe/pluginfile.php/72/mod resource/content/1/ เอกสารประกอบการสอนบทที่%204%20การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ.pdf [7 เมษายน 2566].

กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษาฯ กลุ่ม อววน. 1. (2565). โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ops.go.th /th/flagship-project-driven/item/6522-reinventing-university [7 เมษายน 2566].

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ข่าวธุรกิจการตลาด. (2565). พลิกโฉมมหาวิทยาลัยไทย ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9650000060202 [7 เมษายน 2566].

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติมา ไชยมงคล. (2562). รู้ทันปัญหา Gen Z เป็นเรื่องง่ายๆ แค่เข้าใจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.rachachat.net/csr-hr/news-382415 [8 เมษายน 2566].

นภาพร อาร์มสตรอง. (2562). กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทย : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2560). ดึงมหาวิทยาลัยชั้นนำ ตปท. เปิดในไทยกระทบวิทยาลัยพุทธนานาชาติ?!?!. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: จาก http://oldweb.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=2138&articlegroup_id=335 [8 เมษายน 2566].

รณธิชัย สวัสดิ์ และรัตนะ บัวสนธ์. (2565). การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 187-201.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2560). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12 (ฉบับพิเศษ), 134-149.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2560). อนาคตผู้บริหารการศึกษาไทย: ในห้วงเวลาภาวะถดถอย. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน (บรรณาธิการ), ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศรุดา ชัยสุวรรณ, เสน่ห์ สีตลารมณ์ และวีรจักร แสงวงศ์. (2563). การพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในยุคภาวะวิกฤตผู้เรียน. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 9, 686-702.

ศรุดา ชัยสุวรรณ, ภควรรณ ลุนสําโรง และ ทินกฤต ชัยสุวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสถาบันอุดมศึกษาเพื่อศึกษาต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพาณิชยศาสตรศึกษาและธุรกิจ ศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศ, 13, 743-753.

Berger, Lance A., and Dorothy R. Berger. (2004). The talent management handbook: creating organizational excellence by identifying, developing, and promoting your best people. New York: McGraw-Hill

Burbules, N.C.& Callister, T.A. (2000). Universities in Transition: The Promise and the Challenge of New Technologies. Teachers College Record, 102(2), 271.

Leggett, K. (2006). Financial education: credit union monitor. ABA Bankers News, 14(3), 4.

Maringe, F. (2005). Interrogating the crisis in higher education marketing: The CORD model. International. Journal of Education Management, 19(7), 564-578.

National Research Council (NRC). (2012). A Framework for K–12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. Washington, DC: The National Academies.

Prahalad, C.K. (2007). Opening Keynote Address-Facing the Future. Presented at the 40th Anniversary International Colloquy, 6 June, Schulich School of Business, York University, Canada.

Sears, D. (2003). Successful talent strategies: Achieving superior business result through market-focused staffing. New York: American Management Association.

Sevier. (2001). Brand as Relevance. Journal of Marketing for Higher Education, 10(3), 77-96.

04

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023