แนวทางการบริหารทางวิชาการระดับอุดมศึกษาสู่ความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระธีรวัฒน์ อั้นเต้ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหาร, การบริหารทางวิชาการ, ระดับอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารทางวิชาการระดับอุดมศึกษาสู่ความสำเร็จ ของสถาบันอุดมศึกษา ผลการศึกษาการบริหารสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์ของการบริหารอุดมศึกษา ได้แก่ สร้างคนเก่ง คนแกร่ง และคนกล้า ส่งเสริมให้คนเก่งให้เก่งถึงที่สุด ส่งเสริมสำนึกแห่งความเป็นเลิศให้เกิดขึ้นในสถาบัน สร้างและส่งเสริมความรู้ในทุกด้านของสังคม เป็นผู้นำทางความคิดชี้ถูก ชี้ผิด ให้กับสังคม มีทางเลือกที่ดีงามให้กับคน สังคม และโลก และผดุงคุณค่าแห่งการตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลง หลักการสำคัญสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในยุคดิจิทัลได้ 6 หลักการ ได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลักความเสมอภาค และหลักธรรมาภิบาล แนวคิดการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยภารกิจ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย และแนวทางในการดำเนินงานทางด้านวิชาการของสถาบันและจัดการบริหารให้นโยบายและแนวทางดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จในทางปฏิบัติ การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอน การดำเนินการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการสร้างบรรยากาศให้อาจารย์ทำผลงานวิจัยอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม การแสวงหาทรัพยากรและจัดสรรงบประมาณให้แก่ หน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยผ่านกระบวนการที่ถูกต้องและเหมาะสม บริหารบุคลากรฝ่ายวิชาการ การประสานงานกิจกรรมนักศึกษาการประสานสัมพันธ์กับบุคคล สถาบันหรือหน่วยงานภายนอกในด้านวิชาการ ทำนุบำรุงอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมให้บริการอยู่เสมอ และการพัฒนาองค์การในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จักรพันธ์ ชัยทัศน์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษา เอกชน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธีระ รุญเจริญ. (2563). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา: ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (1 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 (ตอนที่ 57 ก)

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 450-458.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษาไทย 4.0 โรงเรียนผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริเกษม ศิริลักษณ์. (2564). รูปแบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิษนุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

AI Al-Shafei, Bin Abdulrahman K, Al-Qumaizi KI & El-Mardi AS. (2015). Developing a generic model for total quality management in higher education in Saudi Arabia. Journal Medical Teacher, 37. S1-S4.

Arcaro, J. S. (1995). Quality In Education: An Implementation Handbook. Florida, Delray Beach: St.

Blake, R.R., Mouton J. S. and William M.S. (1981). Academic Administrator Grid. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Lee S.F., Lo K.K., Leung R.F. and Ko A.S.O. (2000). Strategy formulation framework for vocational education: integrating SWOT analysis, balanced scorecard, QFD methodology and MBNQA education criteria. Managerial Auditing Journal, 15(8), 407-423.

National Institute of Standards and Technology. (2011). Baldrige education criteria for performance excellence. [Online]. Retrieved from: http://www.en.mahidol.ac.th/thai/policy/edpex/edu_criteria_2011_2012.pdf [8 September 2023].

Sallis, E. (2002). Total quality management in education. 3rd ed. London: Kogan Page.

Sergiovanni, T.J. (1995). The principal ship. A reflective practice perspective, 3.

03

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023