กระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ส่งผลต่อเจตคติของนักเรียนในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • พิชชากร ตะนุสะ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมชัย ศรีนอก หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ศักดิ์ดา งานหมั่น หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการสอน, ความหลากหลายทางเพศ, เจตคติ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศ (2) เพื่อเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศ ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods) โดยศึกษาจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นและตอนปลายที่ได้รับการเรียนการสอนจากครูผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 145 คน และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ครูผู้สอนนิยามตนเองว่าเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) ระดับเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.29 S.D. = 0.62)

            2) การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ เกรดเฉลี่ย และลักษณะครอบครัวที่ส่งผลต่อเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศ พบว่า เพศ และลักษณะครอบครัวที่แตกต่างกัน ส่งผลเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านเกรดเฉลี่ยที่แตกต่างกันส่งผลเจตคติของนักเรียน ที่มีต่อกระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศแตกต่างกันในด้านการเรียนรู้ และด้านพฤติกรรม

            3) กระบวนการสอนของครูผู้มีความหลากหลายทางเพศประกอบด้วย) คุณลักษณะส่วนตัว 2) การเตรียมการสอน 3) ประสิทธิภาพการสอน 4) แรงจูงใจและการเสริมแรงทางการเรียน 5) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 6) การประเมินผลล้วนมีผลต่อมีการสร้างสรรค์องค์ความรู้และความเข้าใจในการเรียนของนักเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนาศาน สุภาษี. (2563). การตีตราและเลือกปฏิบัติต่อเพศวิถีในโลกแห่งการทำงานกรณีศึกษาอาชีพข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ, สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://nidapoll.nida.ac.th/data/survey/uploads/FILE-1654933256095.pdf. [20 มกราคม 2566].

สันติ แก่อินทร์. (2562). เจตคติของสังคมต่อนักศึกษากลุ่มหลากหลายทางเพศสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อเทตยา แก้วศรีหา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อุสา อุทัย. (2555). เจตคติของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

02

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023