การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุ สังฆราช Model

ผู้แต่ง

  • สุชาดา โรจน์ทะนงค์ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, พลัดตกหกล้ม, ภาวะถดถอย

บทคัดย่อ

            การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุสังฆราชโมเดล เป็นการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมสุขภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิผลของกระบวนการเฝ้าระวังภาวะถดถอยของผู้สูงอายุในชุมชน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้สูงอายุด้วยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเอง สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย 3) เพื่อวัดประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้สูงอายุด้วยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเอง สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย กลุ่มทดลอง จำนวน 315 คน ระยะที่ 2 พัฒนานวัตกรรมรูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนารูปแบบโปรแกรมการให้ความรู้ผู้สูงอายุด้วยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเอง สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย และระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้นวัตกรรมรูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยที่มารับบริการที่ คลินิกผู้สูงอายุ ของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี เลือกแบบเจาะจง จำนวน 166 คน ที่มีภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้มเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม โปรแกรมการให้ความรู้ผู้สูงอายุด้วยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเอง สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย และแบบบันทึกการตรวจคัดกรองภาวะถดถอยผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการทดสอบ t-test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพ 2) ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการให้ความรู้ผู้สูงอายุด้วยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเอง สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย 3) กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ผู้สูงอายุด้วยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเอง สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะพลัดตกหกล้มกระดูกหัก

Downloads

Download data is not yet available.

References

วนิดา ราชมี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. บริษัท สินทวีการพิมพ์ จำกัด.

สถาบันเวชศาสตร์ฯ ผู้สูงอายุ ร่วมกับ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.(2564). คู่มือ ฉบับประชาชน ป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. บริษัท ซีจี ทูล จำกัด.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.รูปแบบการป้องกันภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ.

สุธรรม เยี่ยมสวัสดิ์. (2566). ประสิทธิผลของการใช้ขวดเป่าบริหารปอดในผู้ป่วยโรดปอดอุดกั้นเรื้อรัง. กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023