วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักความกตัญญูต่อบุพการีในสถาบันครอบครัวของสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • วิญญูชน เฮ่าตระกูล นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอันนามาลัย

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, ความกตัญญูกตเวที, สังคมไทย

บทคัดย่อ

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญของความกตัญญูกตเวทีเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของคนดี ซึ่งความกตัญญูเป็นคุณธรรมสำคัญในการสร้างความสงบสุขของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน สังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับความกตัญญูโดยเฉพาะอย่างยิ่งความกตัญญูต่อพ่อแม่และบุพพการี แต่ในปัจจุบันผู้คนเริ่มมีการตั้งคำถามถึงหลักธรรมนี้เพราะความไม่ชัดเจนถึงขอบเขตบุญคุณและขอบเขตของการตอบแทนบุญคุณ หรือแม้แต่สภาพสังคมและความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว ที่ทำให้หลักธรรมความกตัญญูไม่สามารถตอบโจทย์สังคมในปัจจุบันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามในพระไตรปิฎกได้ระบุถึงการตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ในกรณีที่พ่อแม่เป็นผู้ที่ดูแลลูกของตนเป็นอย่างดี หรือแม้กระทั่งการนำหลักทิศ 6 และทางสายกลางมาเพื่อพิจารณาถึงวิธีการตอบแทนพระคุณในแง่มุมต่างๆ นอกเหนือจากการเลี้ยงดูพ่อแม่ หากพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกเป็นอย่างดีเมื่อตอนยังเยาว์วัยลูกที่ดีหรืออภิชาตบุตรควรเลี้ยงดูท่านและดูแลท่านอย่างเต็มที่ให้สมกับที่ท่านดูแลเรามา สิ่งนี้ได้แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย แต่หากพ่อแม่ที่ดูแลลูกเป็นอย่างดีแต่ลูกกลับไม่เหลียวแลผู้นั้นคือ ลูกอกตัญญู อย่างไรก็ตามหากพ่อแม่มิได้เป็นผู้เพรีบพร้อมในการดูแลลูก ลูกก็ควรพิจารณาโดยใช้หลักทิศ 6 ในแง่มุมของหน้าที่ของพ่อแม่และลูก และพิจารณาถึงความสัมพันธ์กันในครอบครัวร่วมกับหลักธรรมทางสายกลางเพื่อให้พ่อแม่ และลูกได้ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

Downloads

Download data is not yet available.

References

เบญจวรรณ ชยางกูร ณ อยุธยา. (2565). การปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 7(1): 167-176.

กองสถิติสังคม. (2563). การสํารวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรมพ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

ฆฤณ ถนอมกิตติ. (2564). “ไม่อยากกลับบ้าน” เพจที่อยากออกแบบความกตัญญูและนิยามของครอบครัวในรูปแบบใหม่. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก http://adaymagazine.com/wont-go-home-page.

ธเนศ รัตนกุล. (2559). คำว่า ‘กตัญญู’ กำลังค้ำคอคนรุ่นใหม่ เมื่อลูกต้องแบกโลกทั้งใบของพ่อแม่. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก https://thematter.co/science-tech/the-problem-with-gratitude/10661.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตรฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน). (2560). ความกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดสันติภาพในสังคม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 1(2): 27-35.

พระวิทูล ญาณธมฺโม (พันธุมิตร). (2555). “ศึกษาพฤติกรรมด้านความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านหนองช้าง ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2536). กตัญญูกตเวที เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรของโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.พูนทรัพย์ขุนชิต. (2548). “ศึกษาหลักจริยธรรมด้านกตัญญูกตเวทีของบุตรและธิดาจะต้องปฏิบัติต่อมารดาบิดา: ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Giacomo Bono, Mikki Krakauer, & Jeffrey J. Froh. (2558). “The power and practice of Gratitude.” in J. Stephen (ed.) Positive Psychology in Practice: Promoting Human Flourishing in Work, Health, Education, and Everyday life (2nd): 559-575. https://www.researchgate.net/publication/30028194_The_Power_and_Practice_of_Gratitude.

Robert A. Emmons & Joanna Hill. (2544) Words of Gratitude for Mind, Body and Soul. Pennsylvania: Templeton Foundation Press.

Sareh Behzadipour, Alireza Sadeghi, & Mojgan Sepahmansour. (2561-2562). “A Study on the Effect of Gratitude on Happiness and Well being.” Biquarterly Iranian Journal of Health Psychology 1(2): 70.

01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023