กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีใน “เพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน”

ผู้แต่ง

  • อนัญญา ชอบงาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ภูเก็ต 83000
  • รุ่งรัตน์ ทองสกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ภูเก็ต 83000

คำสำคัญ:

การเสียดสี, กลวิธีทางภาษา, เพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีใน “เพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน” เก็บรวบรวมข้อมูลโพสต์ในเพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 - 30 ตุลาคม 2565 จำนวน 120 โพสต์ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะโพสต์ที่มีจำนวนผู้กดถูกใจ 10,000 ครั้งขึ้นไป นำข้อมูลมาวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีจากเนื้อเพลง โดยนำข้อความพาดหัวและภาพประกอบในโพสต์มาพิจารณาประกอบการวิเคราะห์และคิดค่าร้อยละของแต่ละกลวิธีจากจำนวนโพสต์ที่พบโดยปรับกรอบแนวคิดจากงานวิจัยของ อุมาภรณ์ สังขมาน เรื่อง “กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย” ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า มีการนำบทเพลงที่มีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบัน จำนวน 95 เพลง มานำเสนอในโพสต์ โดยพบกลวิธีการใช้ภาษาเสียดสี 5 กลวิธี ตามลำดับที่พบ ได้แก่ 1) การใช้ถ้อยคำล้อเลียน พบ 50 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 2) การใช้ถ้อยคำเหน็บแนม พบ 40 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 33.33 3) การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ พบ 20 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 16.67 4) การใช้ถ้อยคำประชดประชัน พบ 13 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 10.83 และ 5) การใช้ถ้อยคำเชิงเปรียบ พบ 6 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 5.00 ข้อมูลการโพสต์ทั้ง 120 โพสต์ เป็นการเสียดสีการทำงานของนักการเมือง ผู้นำประเทศ และรัฐบาล ซึ่งกลวิธีการเสียดสีเหล่านี้ก่อให้เกิดความหมายบ่งชี้ที่มีความหมายโดยนัย เป็นการใช้ภาษาด้วยวัจนกรรมอ้อมซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องตีความ

References

คาราโอเกะชั้นใต้ดิน. (2557). สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.facebook.com/basementkaraoke

คาราโอเกะชั้นใต้ดิน. (2559, 21 ตุลาคม). เข้ามาเข้ามา เข้ามาช็อตหน่อย. [Facebook]. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.facebook.com/basementkaraoke/photos/a.233555506838274/536232049903950

คาราโอเกะชั้นใต้ดิน. (2562, 3 มกราคม). กตต. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่. [Facebook]. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.facebook.com/basementkaraoke/photos/a.233555506838274/948893631971121/

คาราโอเกะชั้นใต้ดิน. (2562, 10 มกราคม). ผมสวดมนต์ทุกวัน. [Facebook]. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.facebook.com/basementkaraoke/photos/a.233555506838274/953120981548386/

คาราโอเกะชั้นใต้ดิน. (2564, 15 พฤศจิกายน). ยืนโง่โง่ริมทะเล. [Facebook]. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.facebook.com/basementkaraoke/photos/a.233555506838274/1756917307835412/

คาราโอเกะชั้นใต้ดิน. (2565, 17 มกราคม). แนะสอนหลักให้เด็กคิด. [Facebook]. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.facebook.com/basementkaraoke/photos/1800413586819117

จันทรวรรณ ตระกุลผิว. (2563). การล้อเลียนในเพจเฟซบุ๊กประเภทเสียดสีการเมือง. วารสาร CRRU Journal of Communication Chiangrai Rajabhat Universit, 3(1), 45-75. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2565, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRRUJC/article/view/241530/164778

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

นัฐริกา คงเมือง, และนนทชา คัยนันทน์. (2563). กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีของตัวละคร “แนนโน๊ะ” ในละครโทรทัศน์ เรื่อง เด็กใหม่ (Girl From Nowhere). วิวิธวรรณสาร, 4(2), 85-108. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2565, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/238006/165584

ปัทมา ประสารทรัพย์, และสุนทรี โชติดิลก. (2563). การศึกษาเนื้อหาและกลวิธีการเสียดสี ในการ์ตูนเพจ jod 8 riew. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 21-41. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2565, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/256713/170927

พัทธนันท์ เด็ดแก้ว. (2559). ภาษาและรูปแบบการสื่อสารของแฟนเพจ “ทูนหัวของบ่าว”. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 147-159. สืบค้น 9 ธันวาคม 2565, จาก https://so02.tcithaijo.org/index.php

อุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(1), 154-178. สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2565, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/57890/47913

Dixon, S. (2023). Number of monthly active facebook users worldwidw as of 4th quarter 2022. สืบค้น 14 มีนาคม 2566, จาก https://www.statista.com/statistics/264810/number-of-monthly

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

ชอบงาม อ., & ทองสกุล ร. (2024). กลวิธีการใช้ภาษาเสียดสีใน “เพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน”. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13, 35–51. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/993

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์