Journal Information
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์ วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)
- ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ไม่เคยเผยแพร่หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
- ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่นำมาใช้ในการเขียนผลงานของตนเอง และจัดทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและบรรณานุกรมท้ายบทความ
- ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ทางวารสารกำหนด
- ผู้เขียนต้องใส่ชื่อผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดในกรณีที่งานวิจัยมีผู้ร่วมวิจัยหลายคน โดยไม่แอบอ้างเป็นงานวิจัยของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำบทความจริง
- ผู้เขียนต้องปรับแก้ผลงานที่เสนอขอตีพิมพ์ตามคำแนะนำหรือตามผลการประเมินจากผู้ประเมินบทความตามเวลาที่วารสารกำหนด
- ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (ถ้ามี)
- ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความที่เสนอขอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
- บรรณาธิการจะต้องคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่ลงตีพิมพ์หรือตอบรับบทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้วหรือบทความที่ไม่มีข้อมูลยืนยัน
- บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
- หากตรวจพบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนหลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจงประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น
- บรรณาธิการต้องเลือกผู้ประเมินบทความให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาวิชาของบทความนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด
- บรรณาธิการต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ตามนโยบายของวารสาร
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความจะต้องรักษาความลับอย่างเคร่งครัดและไม่เปิดเผยข้อมูลบทความขณะประเมินบทความให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ
- ผู้ประเมินไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน ซึ่งจะส่งผลให้การประเมินบทความขาดความโปร่งใส หากมีควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
- ผู้ประเมินบทความควรมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตนประเมิน โดยให้ความสำคัญในด้านคุณภาพของบทความและต้องประเมินโดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการมารองรับ ไม่ควรแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลส่วนตัว
- ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีเมื่อพบว่าเนื้อหาในบทความที่ตนเองประเมินมีความซ้ำซ้อน มีการคัดลอก เจตนาให้ข้อมูลเท็จ หรือมีการปิดบังข้อมูล
- ผู้ประเมินบทความไม่นำเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งที่ประเมินมาเป็นผลงานของตนเองโดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของบทความหรือจากวารสาร