ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PQ4R เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ่อวิทยบางระกำ

ผู้แต่ง

  • รังสิมา ศรีเมฆ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • ทรงภพ ขุนมธุรส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าเรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PQ4R เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ่อวิทยบางระกำ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิค PQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ่อวิทยบางระกำ จำนวน 37 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PQ4R เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (แบบทดสอบปรนัย) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PQ4R เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 10 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค PQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิค PQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.65)

References

กรรณิการ์ ทัพขวา. (2552). การใช้กลวิธีการสอนแบบ PQ4R เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฉัตรลัดดา เกิดสุภาพ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้จากการสอนอ่านด้วยเทคนิค PQ4R. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 1-279.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2551). แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับนกฮูก. กรุงเทพฯ: โกลบอล เอ็ด.

วรัญญา สุขตระกูล. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด PQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2561). ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่. สืบค้น 5 มิถุนายน 2562, จาก https://tdri.or.th/2018/05/publicannualcon_2/

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2550). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

เอื้อมพร โชคสุชาติ. (2556). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน อายุ 9-12 ปี ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจากการสอนอ่านโดยวิธี PQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนที่ความคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์