ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การจัดการเรียนการสอน, พระสอนศีลธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามสถานภาพของพระสอนศีลธรรม 3) รวบรวมข้อเสนอแนะประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 107 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน 2) สถานภาพของพระสอนศีลธรรมที่มีอายุพรรษาและระดับการศึกษามีประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะการพัฒนา พบว่า พระสอนศีลธรรมควรให้ครูและนักเรียนเข้าใจโครงสร้างของหลักสูตร เพื่อจะได้เข้าใจจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยเน้นการสอนให้รู้แจ้งเห็นจริง พิสูจน์ได้ ปฏิบัติได้ทุกเวลาทำได้ทุกสถานที่ เน้นการใช้จริงในชีวิตประจำวันเกิดสัจธรรมในชีวิต สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ ด้วย และควรใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย เช่น ข้อสอบ ปฏิบัติจริง ควรมีกิจกรรมในชั้นเรียน โดยวัดผลทุกหน่วยการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
References
กรมการศาสนา. (2549). คู่มือการดำเนินงานตามโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
กำพล ธนะนิมิตร. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบของประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ขวัญนภา เจริญวัย. (2550). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บุญหนา จิมานัง, และฤดี แสงเดือนฉาย. (2551). การประเมินประสิทธิภาพการสอนของพระสอนศีลธรรม ในสถานศึกษาเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 9 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สามลดา.
พระครูสังฆรักษ์วินัย ปาสาธิโก (วงษ์สุเทพ). (2556). การจัดการเรียนการสอนของครูสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์สุชาติ เขมกาโร (แย้มเดช). (2556). การจัดการเรียนการสอนของสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดเรวัต เรวตฺโต. (2554). การจัดการเรียนการสอนในโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญเลิศ อินฺทปฺญฺโญฺ, พระไพรเวศน์ จิตฺตทนฺโต, เกื้อ ชัยภูมิ, และจักนรินทร์ เหลืองอ่อน. (2552). การศึกษาความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาประยอม กลฺยาโณ (ล่มไมล์). (2554). การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมานิตย์ โชติธมฺโม (อรรคชาติ). (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมชาย ชูเลิศ. (2553). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุราษฎร์ พรมจันทร์. (2550). ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.