การใช้แบบฝึกทักษะตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อแก้ปัญหาการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • กนกอร ปลัดเซ็นต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • ทรงภพ ขุนมธุรส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, การผันวรรณยุกต์, แนวคิดสมองเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ที่ออกแบบตามแนวคิดสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ่อวิทยบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต1 ภาคเรียนที่ 2/2562 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 5 ข้อ ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการผันวรรณยุกต์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์อยู่ในระดับมาก โดยสรุปการใช้แบบฝึกทักษะตามแนวคิดสมองเป็นฐานช่วยส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปได้

References

กัญญา บัญญสุทธิ์. (2523). การสร้างแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่องการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แจ้งตรง. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการผันวรรณยุกต์โดยการใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปาริชาติ ไชยโสภา. (2550). การพัฒนาแบบฝึกการผันวรรณยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัฒนา ฤกษ์ชัย. (2554). การพัฒนาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานเรื่องการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุวดี โพธิ์หมุด. (2558). การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการผันวรรณยุกต์ด้วยนิ้วมือ ประกอบการเรียนตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการผันวรรณยุกต์ การคิดวิเคราะห์และความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้. (2562). เข็ม สำรวจปรากฏการณ์และความเปลี่ยนแปลง 10 ปี. กรุงเทพฯ: ภาคพิมพ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2550). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน (1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

เอมอร แก้วเพชร. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านคล่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์