ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครอบครัวกับสุขภาพจิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วิมลสิริ เทพแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ครอบครัว, ความผูกพันของครอบครัว, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความผูกพันของครอบครัวของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาสุขภาพจิตของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครอบครัวกับสุขภาพจิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก อายุ 20-24 ปี จำนวน 375 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันของครอบครัวอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.02) ได้แก่ เมื่อเกิดปัญหาสิ่งแรกที่นึกถึง คือ ครอบครัว รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และมีการพูดคุยกับครอบครัวเสมอแม้ในเวลาที่อยู่ห่างไกลกันในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.32, 4.27 และ 4.19 ตามลำดับ) มีสุขภาพจิตอยู่ในระดับไม่มีความผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 80.3 นอกจากนี้ความผูกพันของครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (r=.267) คือ เมื่อมีความผูกพันของครอบครัวมากจะมีสุขภาพจิตที่ดี

References

กรมสุขภาพจิต. (2539). แบบสอบถาม General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. สืบค้น 9 กันยายน 2560, จาก https://www.dmh.go.th/test/ghq

กรมสุขภาพจิต. (2548). แนวคิดทฤษฎีและปัจจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูลูก. สืบค้น 9 กันยายน 2560, จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=969

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). เกณฑ์ในการพิจารณาความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r). สืบค้น 17 สิงหาคม 2560, จาก http://www.ex-mba.buu.ac.th/Research/Bkk/Mk6-Bkk/05ch3.pdf

เกษร สายธนู, สงวน ธานี, และไวพจน์ อุ่นใจ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ทวี ตั้งเสรี. (2555). กรมสุขภาพจิตอึ้ง! วัยเรียนเครียดสะสมฆ่าตัวตายปีละ170 คน. สืบค้น 25 กันยายน 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/289132

ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจินทร์, และโสภิณ แสงอ่อน. (2556). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3),8-9.

ฝน แสงสิงแก้ว. (2543). ความผูกพันรักใคร่ในครอบครัว. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 45(1),1-10.

พนม เกตุมาน. (2550). ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น. สืบค้น 29 กันยายน 2560, จาก http://www.psyclin.co.th/new_page_57.htm

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). รูปแบบการใช้การแพทย์แบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(3), 171-189.

รณชัย คงสกนธ์. (2554). ความผูกพันในครอบครัว. สืบค้น 26 กันยายน 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/421799

วิษณุ พวงพันธ์. (2556). สถาบันครอบครัว. สืบค้น 29 สิงหาคม 2560, จาก http://sociology-a.blogspot.com/2013/07/family-institutions.html

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). สายใยรักความผูกพันครอบครัวมากกว่าตัวเงิน. สืบค้น 19 ธันวาคม 2560, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/36261

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558. สืบค้น 30 กันยายน 2560, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/mental-healthm_aug_58.pdf

อาภรณ์ ศรีชัย, จิณห์จุฑา ชัยเสนา คาลสาร, และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัว เหตุการณ์ชีวิตเชิงลบ ความฉลาดทางอารมณ์ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา, 24(4), 65-76.

Daniel, WW. (1999). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์