“Love & Sex” การนัดและพูดคุยผ่านแอปพลิเคชันหาเพื่อน : กรณีศึกษาของวัยรุ่น ชาย-หญิง ที่ใช้แอปพลิเคชัน BeeTalk

ผู้แต่ง

  • ธีระพงศ์ ชูพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พัชราภรณ์ มณีงาม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

บีทอล์ค, หาเพื่อน, การให้ความหมาย, การแสดงออกทางเพศเชิงสัญลักษณ์, รูปแบบการนำเสนอตัวตน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการให้ความหมายและการแสดงออกทางเพศเชิงสัญลักษณ์ที่ปรากฏในการใช้แอปพลิเคชัน BeeTalk เพื่อหาเพื่อน คู่รัก หรือคู่นอน 2) เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอตัวตนในพื้นที่ของการใช้แอปพลิเคชัน BeeTalk เพื่อหาเพื่อน คู่รัก หรือคู่นอน 3) เพื่อศึกษาผลกระทบและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้แอปพลิเคชัน BeeTalk เพื่อหาเพื่อน คู่รัก หรือคู่นอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยนี้ ได้แก่ วัยรุ่น ชาย-หญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่ใช้แอปพลิเคชัน BeeTalk จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 1 คน และให้ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1 แนะนำแบบลูกโซ่อีก 2 คน ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบตัวต่อตัวจากการนัดเจอตามสถานที่ที่ผู้ให้สัมภาษณ์สะดวก โดยในขณะที่สัมภาษณ์ผู้วิจัยจะใช้การสังเกตลักษณะท่าทาง น้ำเสียงของผู้ให้ข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์คำสำคัญแล้ว จัดกลุ่มหัวข้อและสร้างหัวข้อย่อย ๆ แล้วนำมาตีความและพรรณนาเป็นความเรียงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยผลการวิจัย พบว่า ประเด็นที่ได้ คือ ใช้เพื่อ 1) หาเพื่อนคุยแก้เหงา 2) มีเพศสัมพันธ์ โดยผู้ที่เข้ามาใช้แอปพลิเคชันส่วนใหญ่เกิดจากความเหงา โดยมองว่าพื้นที่ภายในแอปพลิเคชัน BeeTalk สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ ส่วนการแสดงออกทางเพศเชิงสัญลักษณ์ พบว่า ผู้ใช้งานมีการแสดงออกผ่านรูปภาพและข้อความโดยจะใช้รูปภาพที่มีลักษณะโป๊หรือใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้นหรือข้อความที่สื่อถึงเรื่องเพศทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อดึงดูดความสนใจและต้องการเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานด้วยกัน การนำเสนอตัวตน พบว่า จะมีการใช้รูปโปรไฟล์ที่ดูดีและสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานด้วยกันได้ ผลกระทบและความเสี่ยง พบว่า ผู้ใช้งานใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองโดยไม่ค่อยคำนึงถึงผลที่อาจจะตามมาภายหลัง

References

ขวัญจิรา ดลปัญญาเลิศ. (2558). การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการหาเพื่อนผ่านสื่อออนไลน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อาทิตยา มีศรี. (2555). ผลกระทบของการแสดงออกทางเพศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาหญิงในระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อานิตา แย้มปราศัย. (2560). Social Network “BeeTalk” บีทอล์ค. สืบค้น 7 ธันวาคม 2560, จาก https://medium.com/@arnitahonda/socialnetwork-beetalk-บีทอล์ค-3cd418d29ac0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์