การศึกษาการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุภายในเรือนจำกลางนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้ต้องขังสูงอายุ, การจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง, เรือนจำกลางบทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุภายในเรือนจำกลางนครปฐม มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) การจัดสวัสดิการผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางนครปฐม 2) ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางนครปฐม และ 3) เสนอแนะแนวทางการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางนครปฐม เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 9 คน ประกอบด้วย หัวหน้าและเจ้าหน้าที่ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ จำนวน 3 คน ผู้ต้องขังสูงอายุชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 6 คน โดยมีการกำหนดคุณลักษณะเป็นผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำมาเป็นระยะเวลานานและมีอายุมากที่สุดในเรือนจำและเป็นการคัดเลือกมาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ ขอบเขตระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ถึงเดือนเมษายน 2561 ผลการศึกษา พบว่า เรือนจำกลางนครปฐมมีการจัดสวัสดิการที่สอดคล้องกับแนวคิดการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังตามแนวทางสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานขั้นต่ำแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ค.ศ. 1957 การดูแลความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมต่อผู้ต้องขังสูงอายุ ด้านเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีความเข้าใจพฤติกรรมรวมถึงความต้องการของผู้ต้องขังสูงอายุ มีโปรแกรมกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมให้แก่ผู้ต้องขังสูงอายุ ได้แก่ การฝึกอบรมพัฒนาด้านจิตใจ การอบรมฝึกวิชาชีพและการออกกำลังกาย ด้านปัญหา อุปสรรค ได้แก่ ที่นอนที่แออัดเนื่องจากพื้นที่มีอย่างจำกัดไม่สามารถแยกผู้ต้องขังสูงอายุกับผู้ต้องขังประเภทอื่นได้ ด้านยารักษาโรคมียาสามัญประจำบ้านทั่วไปแต่ไม่ใช่ยารักษาโรคเฉพาะทาง ผู้ต้องขังสูงอายุหลายคนมีปัญหาไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากมีอายุที่มากและข้อจำกัดทางร่างกาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารระดับสูงควรมีนโยบายที่เน้นถึงความสำคัญในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ต้องขังสูงอายุด้วยการออกแบบเรือนจำให้มีรูปแบบเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุ การจัดอบรมแนวทางการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ต้องขังสูงอายุระหว่างและหลังพ้นโทษ การประชาสัมพันธ์ให้องค์กรภายนอกเข้ามาจัดกิจกรรมเพื่อสังคมในเรือนจำ
References
กูณฑ์ จีนประชา. (2548). การศึกษาความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นของผู้ต้องขังเรือนจำกลางชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ชัยวัฒน์ รัตนวงศ์, อุดม คำขาด, และประภาพร มโนรัตน์. (2555). การพัฒนากิจกรรมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ :กรณีศึกษา เรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560, จาก http://www.smnc.ac.th
ทวี รัตนอุบล. (2551). ความคิดเห็นของผู้ต้องขังที่มีต่อการให้บริการด้านสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในเรือนจำจังหวัดพะเยา. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2560, จาก http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=5826
นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2540). ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัทธี จิตสว่าง. (2545). หลักทัณฑวิทยา : หลักการวิเคราะห์ระบบงานราชทัณฑ์. นนทบุรี: มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์ กรมราชทัณฑ์.
นัทธี จิตสว่าง. (2546). โปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด. นนทบุรี: มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์ กรมราชทัณฑ์.
นันทนีย์ ไชยสุต. (2519). หลักทฤษฎีเบื้องต้นของการสังคมสงเคราะห์ : เอกสารงานเผยแพร่ทางวิชาการสาขาสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเสริฐ เมฆมณี. (2523). หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ปิยะพร ตันณีกุล. (2555). แนวคิดการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุ. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2560, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/viewFile/
พฤฒิพงศ์ ฤทธิรงค์, และอนัญญา จันทร์ไพบูลย์. (2559). การศึกษาโครงการฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขังในเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ. ตรัง วิจัย ประจำปี 2559 วิจัยก้าวใหม่เพื่อการพัฒนาไทยอย่างยั่งยืน, (1 เมษายน 2559), 209.
สำนักทัณฑวิทยา, กลุ่มงานวิชาการด้านการราชทัณฑ์. (2559). การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังไทยตามแนวทางสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานขั้นต่ำแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2560, จาก http://bp.correct.go.th
สุดสงวน สุธีสร. (2546). อาชญาวิทยาและงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรินทร์ พรหมมินทร์. (2548). แนวทางการพัฒนาการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังเรือนจำกลางกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ.
อธิติยา มานะกิจเจริญ, ชนากานต์ เรืองศรี, ชุติกาญจน์ จังก๋า, พชร เจริญทรัพย์, และภัทราพร เนตรสว่าง. (2560). แนวทางการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำกลางเพชรบุรี (รายงานผลการวิจัย). เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อารีลักษณ์ สินธพพันธุ์. (2531). การปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของเรือนจำในประเทศไทย (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Regoli, Robert M., & Hewitt, John D. (2009). Exploring criminal justice: The essentials. Sudbury: Jones and Bartlett Publishers.
Reichel, Philip L. (1999). Comparative criminal justice systems : A topical approach. New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.