การพัฒนารูปแบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับผู้ใช้บริการด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป EndNote

ผู้แต่ง

  • น้ำลิน เทียมแก้ว สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม 44150

คำสำคัญ:

การอ้างอิง, บรรณานุกรม, โปรแกรม EndNote

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการอ้างอิงและบรรณานุกรม และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อรูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับผู้ใช้บริการด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป EndNote กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจ ได้แก่ ผู้ใช้บริการ จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) รูปแบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ได้จากการสร้างใหม่ คื MSU เพื่อใช้สำหรับทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถใช้กับการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 12 ประเภท ในการใช้โปรแกรมผู้ใช้บริการควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบของทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ และการใช้งานนั้นหากได้รับการอบรมให้ความรู้ก่อนใช้งานจริงผู้ใช้บริการจะมีความรู้และความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นและสามารถใช้โปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยใช้โปรแกรม EndNote พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อรูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยใช้โปรแกรม EndNote โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความสะดวกรวดเร็วในการจัดการอ้างอิงและบรรณานุกรมโดยใช้โปรแกรม EndNote อยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมา  ได้แก่ ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้โปรแกรม EndNote และบรรณารักษ์ให้คำแนะนำการใช้งานโปรแกรม EndNote ได้อย่างมืออาชีพ

References

คณะทำงานบริการข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค. (2560). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการบริการสนับสนุนการวิจัยของห้องสมุดในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค. มหาสารคาม: ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2559). แนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างอาจารย์และบรรณารักษ์ในการส่งเสริมการใช้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2560). การศึกษาความต้องการใช้บริการสารสนเทศของผู้ใช้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

วัลลภ สวัสดิวัลลภ. (2551). สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏ.

อรทัย วารีสะอาด. (2551). การใช้โปรแกรมเอ็นด์โน้ต (EndNote) เพื่อการจัดการบรรณานุกรมในแบบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Baykoucheva, S., Houck, J. D., & White, N. (2015). Integration of endnote online in information literacy instruction designed for small and large chemistry courses. Journal of Chemical Education, 93(3), 470-476.

Yamakawa, E. K., Kubota, F. I., Beuren, F. H., Scalvenzi, L., & Miguel, P. A. C. (2014). Comparativo dos softwares de gerenciamento de referências bibliográficas: Mendeley, EndNote e Zotero. Transinformação, 26(2), 167-176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์