องค์การ สมรรถนะองค์การและความสามารถของผู้บริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์การ: กรณีศึกษาธุรกิจ SMEs ขยะรีไซเคิลกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
องค์การ, สมรรถนะองค์การ, ความสามารถของผู้บริหาร, ผลการดำเนินงานขององค์การบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยองค์การทั่วไป สมรรถนะองค์การ ความสามารถของผู้บริหารและผลการดำเนินงานขององค์การของธุรกิจ SMEs ขยะรีไซเคิลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะองค์การ ความสามารถของผู้บริหารส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์การของธุรกิจ SMEsขยะรีไซเคิลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีธุรกิจจดทะเบียนประเภทบริษัทมีจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 50 คน มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจน้อยกว่า 1 ปี มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 201–400 ตารางวา มีขยะรีไซเคิลที่ร้านรวบรวมและรับซื้อประเภทโลหะ และมีแหล่งรับซื้อขยะรีไซเคิลโดยออกไปรับซื้อยังผู้ขายเอง ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถของผู้บริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะองค์การ ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานขององค์การ ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ทั้งนี้สมรรถนะองค์การและความสามารถของผู้บริหารมีผลต่อผลการดำเนินงานขององค์การตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ รหัส 46695 หมวดประเภทขายส่งของเสียและเศษวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
กัลยาณี สูงสมบัติ. (2556). สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาเทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์ (1996).
ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2558). การจัดระเบียบสังคมแบบภาครัฐร่วมเอกชน สำหรับธุรกิจค้าขยะรีไซเคิลในมิติด้านกฎหมายและการจัดการ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 67-76.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาน หอมพูล, และทิพวรรณ หอมพูล. (2540). การบริหารบุคคล. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์ เซนเตอร์.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). Balanced scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรณี (กีร์ติบุตร) มหานนท์. (2549). การประเมินประสิทธิภาพขององค์กร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
มะยุรี สุดตา, และธนัช กนกเทศ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. พะเยา: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มารศรี เจษฎาปฏิพัทธ์. (2552). อิทธิพลของคุณสมบัติของทรัพยากร ความสามารถขององค์การ และความสามารถของผู้ประกอบการต่อผลการดำเนินงานขององค์การ: กรณีศึกษาธุรกิจรวบรวมและรับซื้อขยะรีไซเคิลในภาคตะวันออกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ (Management). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
วีรวุธ มาฆะศิรานนท์, และณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2546). การพัฒนา Balanced Scorecard. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สมภาร ดอนจันดา, และคณิศร ภูนิคม. (2556). ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจกึ่งแสวงหากำไร โดยประยุกต์ใช้หลักการบาลานซ์สกอร์การ์ด : กรณีศึกษาโครงการตามพระราชดำริพบว่าตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจกึ่งแสวงหากำไร. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 3(6), 52-60.
สมยศ นาวีการ. (2539). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สมศักดิ์ ทิพยรัตน์พรทวี. บริษัท ทวีทรัพย์ (จิงแจ๊ะเฮง). (18 สิงหาคม 2560). บทสัมภาษณ์.
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 10 มิถุนายน 2560, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420
อิทธิกร ศรีจันบาน. บริษัท สถานีรีไซเคิลสุวรรณภูมิ. (3 สิงหาคม 2560). บทสัมภาษณ์.
Baker, K. A. and Branch, K.M. (2002). Conceptsunderlying organizational effectiveness: Trends in the organization and management science literature. Retrieved April 17, 2010, from http://www.au.af.mil/au/awc/awcgate/doe/benchmark/ch01.pdf
Görkem, S. Yavuz. (2014). Corporate Communication in Large-Scale Organizations in Turkey: Structure and responsibilities. Turkey: Public Relations Review, 40(5), 859-861.
Hatcher, L. (1994). A step-by-step approach to using the SAS® System for factor analysis and structural equation modeling. Cary, NC(USA): SAS Institute Inc.
Hellriegel, Don, Slocum, John W., & Woodman, Richard W. (2001). Organization behavior (9th ed.). Ohio: South-Western College Publishing.
Jöreskog, Karl G., & Sörbom, Dag. (1993). Lisrel 8 :Structural equations modeling with the SIMPLIS command language. Chicago: Scientific Software International.
Langenhoven, Belinda, & Dyssel, Michael. (2017). The recycling industry and subsistence waste collectors : A case study of mitchell's plain. Urban Forum, 18(1), 114-132.
Niemann, Rita, & Kotzé, Tina. (2006). The relationship between leadership practices and organisational culture: An education management perspective. South African Journal of Education, 26(4), 609-624.
Saris, W. E., & Strenkhorst, L. H. (1984). Causal modelling nonexperimental research: An introduction to the LISREL approach. Dissertation Abstract International, 47(7), 2261-2262.