แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปรับสีผิวของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, เครื่องสำอางปรับสีผิว, พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปรับสีผิวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปรับสีผิว 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปรับสีผิว และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ปัจจัยร่วมสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ และแรงจูงใจด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปรับสีผิว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตหญิงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติการแจกแจง (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ไคสแควร์ (Chi-Square) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า นิสิตหญิงที่ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30) มีพฤติกรรมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33) มีสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52) มีแรงจูงใจด้านสุขภาพในระดับมาก(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86) และการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปรับสีผิว มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) เท่ากับ 0.455
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.
จุฑา ภู่จำรูญ. (2551). อิทธิพลของสื่อโฆษณาสินค้าครีมบำรุงผิวหน้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวหน้าของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย. (2553). อิทธิพลของแสงแดดที่มีต่อผิวหนัง. สืบค้น 23 สิงหาคม 2559, จาก http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/admin/uploadCMS/research/ZaWed125719.pdf
ธีรพงษ์ ศรจันทร์ และประกาศิริ ฐิติประวัติ. (2543). การเลือกซื้อเครื่องสำอางของผู้หญิง. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ปรารถนา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). พฤติกรรมการใช้และการรับรู้อาการไม่พึงประสงค์จากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับสิวของนักเรียนหญิงวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2559). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักในเรื่องความงามและพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานของผู้หญิงไทย. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6(1), 194-216.
สิริชัย แสงสุวรรณ. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อภิวิชญ์ ภวมัย. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าของผู้ชายในกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน การประยุกต์ แนวคิดและทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
เอ็มจีอาร์ ออนไลน์. (2556). 5 สารเร่งขาวมรณะที่สาว ๆ ต้องหลีกไกล. สืบค้น 1 กันยายน 2559, จาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000127888ASTV
ผู้จัดการรายวัน. (2555). ลัทธิคลั่งขาว...หนุ่มสาวไทยกำลังเสพติด. สืบค้น 21 สิงหาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000122991
Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2(1), 324–508.
Best, John W. (1981). Research in education. London: Prentice-Hall.
Daniel, Wayne W. (1999). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: Wiley.
Rosenstock, Irwin M. (1974). Historical origins of the health beliefmodel. Health Education Monographs, 2(1), 328-335.