การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวโดยชุมชน, หมู่บ้านวัฒนธรรม, คาบสมุทรสทิงพระบทคัดย่อ
รายงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาการจัดการหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวบริเวณคาบสมุทรสทิงพระจังหวัดสงขลา โดยคัดเลือกชุมชนคลองแดน ชุมชนบ้านนางเหล้า ชุมชนสทิงหม้อ และชุมชนเกาะใหญ่ เป็นกรณีศึกษาผ่านระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ ผลการศึกษา พบว่า หมู่บ้านวัฒนธรรมทั้งสี่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ซึ่งสามารถรองรับในการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มประเทศในสมาชิกประชาคมอาเซียนได้แม้ว่าผลการศึกษาด้านศักยภาพและปัญหาในการจัดการท่องเที่ยวของแต่ละหมู่บ้านยังต้องมีการพัฒนาอีกหลายด้านแต่โดยภาพรวมแล้วหมู่บ้านมีต้นทุนทางทรัพยากรที่สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนได้อย่างไม่ยากนักในการพัฒนาไปสู่หมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนนั้น ผลการศึกษา พบว่า ควรมีการพัฒนาให้ครอบคลุมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านที่พัก อาหารวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ และการประชาสัมพันธ์ที่จำต้องบูรณาการความรู้เหล่านี้เพื่อจัดการท่องเที่ยวให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ได้รูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นด้านประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อให้เป็นที่รู้จักในระดับภูมิภาคด้วยภาษาหลากหลาย อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ซึ่งการพัฒนาในเชิงดังกล่าวก็จะทำให้หมู่บ้านวัฒนธรรมการท่องเที่ยวบริเวณคาบสมุทรสทิงพระได้รับความสนใจ จนนำไปสู่การท่องเที่ยวในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
References
กนกพร ฉิมพลี. (2559). แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 20(1), 7-19.
จตุพร จันทรโชติ. บ้านเลขที่ 2/6 หมู่ 3 ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (28 มิถุนายน 2558). บทสัมภาษณ์.
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชุมพล เนตรแก้ว. บ้านเลขที่ 13/5 หมู่ 3 ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (20 มิถุนายน 2558). บทสัมภาษณ์.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2549). การสำรวจสถานะองค์ความรู้และแนวทางพัฒนาทุนวัฒนธรรมและหมู่บ้านวัฒนธรรม (โฮมสเตย์) จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นันท์มนัส ดวงมั่น. บ้านเลขที่ 40 หมู่ 3 ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (20 มิถุนายน 2558). บทสัมภาษณ์.
บุญนำ ช่วยแท่น. บ้านเลขที่ 2 หมู่ 7 ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา. (28 กรกฎาคม 2558). บทสัมภาษณ์.
ประทีป รัตดิวิชล. บ้านเลขที่ 3/6 หมู่ 3 ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (28 มิถุนายน 2558). บทสัมภาษณ์.
ประมาณ เทพสงเคราะห์. (2553). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว: วีถีชีวิต-บนเส้นทางงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปราณี สิตรุโณ. บ้านเลขที่ 4/5 หมู่ 7 ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา. (28 มิถุนายน2558). บทสัมภาษณ์.
ปรารถนา จันทวงศ์. บ้านเลขที่ 13 หมู่ 3 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. (2 กรกฎาคม 2558). บทสัมภาษณ์.
ปริวรรต สมนึก. (2555). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านภูกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1), 11-23.
ปิยพงศ์ คงมี. บ้านเลขที่ 12 หมู่ 3 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. (2 กรกฎาคม2558). บทสัมภาษณ์.
พนมพร สารสิทธิยศ. (2552). ผู้ไทย: แนวทางการจัดการหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว (โฮมสเตย์) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระอธิการเฉลียว จิตธมฺโม. บ้านเลขที่ 2 หมู่ 4 บ้านแหลมบ่อท่อ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา. (17 กรกฎาคม 2558). บทสัมภาษณ์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สามารถ รอดสันเทียะ, ประมาณ เทพสงเคราะห์, สืบพงศ์ ธรรมชาติ, และอุทิศ สังขรัตน์. (2559). วัฒนธรรมไทยที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 98-117.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สำนักงานอำเภอสทิงพระ. (2540). สืบค้น 30 มิถุนายน 2559, จาก http://www.life.ac.th/librapace.com
สุนีย์ แคล้วอาวุธ. บ้านเลขที่ 12 หมู่ 4 ตำบลสทิงพระ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. (18 สิงหาคม 2558). บทสัมภาษณ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล. (2542). สืบค้น 6 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thaitambon.com
อดิศร ศักดิ์สูง. (2554). ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
อัจฉราพรรณ จันทรวิโรจน์. บ้านเลขที่ 14 หมู่ 3 ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (25 มิถุนายน 2558). บทสัมภาษณ์.
อัษฎาวุธ โภคาพานิช. (2555). แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.