ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิตและบุคลากรและแนวทางส่งเสริม : กรณีศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุด, แนวทางส่งเสริมการใช้ห้องสมุดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิต และบุคลากร กรณีศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อศึกษาความคาดหวังของนิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณที่มีต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ แก่นิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ไม่ใช้ห้องสมุด จำนวน 1,726 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบจากประชากรทุกคนที่ 10 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยทักษิณ มากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลโดยเกิดจากบุคลิกภาพส่วนตัวที่บางคนชอบอ่านหนังสือคนเดียวและบางคนต้องการอ่านหนังสือเป็นกลุ่ม การไม่มีเวลามาใช้ห้องสมุด และค้นหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต รองลงมา คือ ปัจจัยด้าน องค์ประกอบ/การดำเนินงานของห้องสมุดที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุด 3 ลำดับแรก คือ ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศภายในห้องสมุดเนื่องจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีความล่าช้า สิ่งอำนวยความสะดวกและบรรยากาศภายในห้องสมุด ได้แก่ ที่นั่งอ่านหนังสือไม่เพียงพอต่อการใช้บริการ และระเบียบและมารยาทในการใช้ห้องสมุดที่มี กฎระเบียบด้านการแต่งกายที่เข้มงวดเกินไป ด้านการประชาสัมพันธ์ผู้ไม่ใช้ห้องสมุด ส่วนใหญ่รับรู้การประชาสัมพันธ์แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้บริการหรือเข้าร่วมโครงการ ด้านระบบการเรียนการสอนส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิต สำหรับแหล่งการเรียนรู้อื่นที่ผู้ไม่ใช้ห้องสมุดใช้มากที่สุด คือ อินเทอร์เน็ต ในส่วนของความคาดหวังผู้ไม่ใช้ห้องสมุดมีความคาดหวังให้ห้องสมุดปรับปรุงและพัฒนาในด้านการเพิ่มพื้นที่ให้บริการบรรยากาศภายในห้องสมุดควรมีระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการเพียงพอกับความต้องการ เพิ่มจำนวนเครื่องมือช่วยการค้นคว้าภายในห้องสมุด บรรณารักษ์ช่วยในการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยและตรวจสอบบรรณานุกรม ขยายเวลาเปิดทำการของห้องสมุด บุคลากรห้องสมุดควรมีมนุษยสัมพันธ์และอัธยาศัยดี และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด สำหรับแนวทางในการส่งเสริมการใช้ห้องสมุด เนื่องด้วยผู้ไม่ใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ดังนั้นห้องสมุดควรจัดหาและประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องสมุดมีให้บริการ นอกจากนี้ควรปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศภายในห้องสมุด เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ทบทวนระเบียบมารยาทในการใช้ห้องสมุด และการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้บริการ
References
กุลธิดา ท้วมสุข, จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, และกันยารัตน์ เควียเซ่น. (2554). รูปแบบการบริหารห้องสมุด มหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิณาภา ใคร้มา, และประภัย สุขอิน. (2557). ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2556. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชญาภรณ์ กุลนิติ. (2553). สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). ประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องมาตรฐานห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544. สืบค้น 28 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ministry%20law/1-31%20library%20standard%202544.pdf
พรทิพย์ วรกุล. (2544). ห้องสมุดกับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารช่อพะยอม, 12(1), 76-83.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 1-23.
ไพจิตร เกิดอยู่. (2540). เหตุผลในการใช้และไม่ใช้ห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภาษิณี ปานน้อย. (2553). การบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระ. (2533). พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดี ที่ 5 กรกฎาคม 2533. สืบค้น 19 เมษายน 2558, จาก https://sites.google.com/site/maptaputpan/phra-rach-daras-keiyw-kab-kar-suksa
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2549). ประกาศสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มาตรฐานห้องสมุด พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2559). จำนวนผู้เข้าใช้บริการสำนักหอสมุด. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.lib.tsu.ac.th//lib_statistic.php
Alansari,H. A. (2013). Public relations in academic libraries in Gulf Cooperation Council (GCC) states. Library Management, 34(1/2), 68-82.
Connaway, L.S., Radford, M. L., Dickey, T.J., Williams, J. D., & Confer, P. (2015). “Sense-making and synchronicity : information-seeking behaviors of millennials and baby boomers” In Connaway, Lynn Silipigni and et.al., The library in the life of the user : Engaging with people where they live and learn. (79-99). Ohio: OCLC Research.
Dotson, D.S., & Garris, J.B. (2008). Counting more than the gate : Developing building use statistics to create better facilities for today ‘s academic library users. Library Philosophy and Practice, September, 1-11.
Goodall,D., & Pattern,D. (2011). Academic library non/low use and undergraduate student achievement : A preliminary report of research in progress. Libraryy Management, 32(3), 159-170.
Griffiths,J. R., & Brophy, P. (2005). Student searching behavior and the web : Use of academic resources and google. Library Trends, Spring, 539-554.
Grose,D. (1974). Some deprived information users. AslibProceedings, 26(1), 9-27.
Kaur, K., & Singh, D. (2011). Customer service for academic library users on web. The Electronic Library, 29(6), 737-750.
Kiilu, P. W., & Otike, J. (2016). Non use of academic library services : A literature review. International Journal of Library Science, 5(1), 7-13.
Namachchivaya, B.S. (2012). The first 30 years of the internet through the lens of an academics library. Library Hi tech, 30(4), 623-642.
O’Dell, F. and Preston, H. (2013). Exploring factors in non-use of hospital library resources by healthcare personel. Library management, 34(1/2), 105-128.
Ramjawan, S. (2011). Identifying marketing tools and strategies to provide a platform to non-users in the use of library and information services (Masters degree in business administration). South Africa: University of South Africa.
Sridhar, M.S. (1994). Non-use and non-users of libraries. Library Science with aslant to Documentation and Information Studies, 31(3), 1-33.
Stoepel, M. (2012). Another perspective on library use learning from library non-users. Qualitative and Quantitative Methods in library (QQML), 2, 185-197.
Suarez, D. (2007). What students do when they study in the library : Using ethnographic methods to observe student behaviour. Electronic Journal of Academic and SpeciaLibrarianship, 8(3), 1-17.
Toner, L. (2008). Non-use of library services by students in a UK academic library. Evidence based library and information practice, 3(2), 18-29.
Volentine, R., & Tenopir, C. (2013). Value of academic reading and value of the library in academics own words. Aslib Proceddings, 65(4), 425-440.