ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ทัตพิชา เขียววิจิตร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, อาหารไขมันสูง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 376 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยหาค่าไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมีความรู้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 14.35) มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.15) มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไขมันสูงอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.02) และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารไขมันสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.428) แต่ความรู้ไม่มี ความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารไขมันสูง

References

เครือมาศ มีเกษม. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา: การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชญานิษฐ์ ธรรมธิษฐาน. (2543). พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนวมินทราชูทิศสตรีวิทยา 2 สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วนิดา แก้วชะอุ่ม. (2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารขยะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดนครปฐม : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2559). จังหวัดพิษณุโลกพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกว่าหกหมื่นราย. สืบค้น 21 มกราคม 2560, จาก http://www.plkhealth.go.th

อนุกูล พลศิริ. (2551). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Daniel, W. (1999). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: Wiley.

Roger, D. (1978). The Psychology of adolescence. New York: Appleton Century-Crofts.

Schwart, Nance E. (1975). Nutrition knowledge attitude and practice of high school graduated. Journal of The America Dietelic Association, 66, 28-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์