ผลกระทบต่อผู้พักอาศัยและผู้ประกอบกิจการหอพักอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
หอพัก, กฎหมายหอพัก, การบังคับใช้บทคัดย่อ
เมื่อการเช่าที่อยู่อาศัยประเภทหอพักเป็นที่นิยม จึงมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายมาควบคุมการประกอบกิจการหอพัก ซึ่งแต่เดิมกฎหมายว่าด้วยหอพักในประเทศไทยคือพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา ทำให้กฎหมายที่บังคับใช้อยู่เดิมนั้นล้าสมัยไม่เหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันจึงได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและตราพระราชบัญญัติหอพักขึ้นมาใหม่เรียกว่า “พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558” แต่การใช้บังคับพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558 ที่ออกมาแทนกฎหมายหอพักเดิมนั้น กำหนดให้หอพักเอกชนสามารถรับผู้พักได้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรีและมีอายุไม่เกิน 25 ปี หากหอพักเอกชนฝ่าฝืนจะเป็นความผิดและมีโทษทางอาญา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบกิจการหอพักเอกชน เนื่องจากสามารถรับผู้พักได้เฉพาะผู้พักที่เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและมีอายุไม่เกิน 25 ปี เท่านั้น
References
เครือรัตน์ กิ่งสกุล. (2544). มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายหอพัก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทศพร มูลรัตน์. (2559). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2558 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. สืบค้น 3 ตุลาคม 2560, จาก https://info.rdi.ku.ac.th/ThailandResearch/?itemID=812429
มนตรี แย้มกสิกร. (2542). รูปแบบของหอพักนักศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2525). การบริหารงานหอพักนิสิตนักศึกษา หลักการปัญหาและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อู่ทอง แข็งเจริญกสิกรณ์. (2560). ปมจัดระเบียบหอชาย-หญิง น.ศ.ย้ำอยู่เป็นคู่ไม่มีปัญหา ระบุแต่ละคนมีหลากเงื่อนไข. สืบค้น 3 ตุลาคม 2560, จาก https://deklanghong.com/content/2017/03/544