การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์ของนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้แต่ง

  • สุวรรณ โชติการ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, องค์ประกอบ, ทักษะ, คอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อวิเคราะห์หาความสำคัญและความน่าเชื่อถือได้ของการประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ กำหนดกลุ่มประชากร จำนวน 711 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านกระบวนการหาคุณภาพมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าเท่ากับ 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.979 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างโมเดลและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmation Factor Analysis) ประกอบด้วย องค์ประกอบ (ตัวแปรแฝง) จำนวน 6 ตัว และตัวแปรที่สังเกตได้ จำนวน 18 ตัว ผลการวิเคราะห์ความกลมกลืน ความสอดคล้องและความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีค่า (gif.latex?^{X}2/df) เท่ากับ 1.425, ค่า Goodness of Fit Index: : GFI เท่ากับ 0.97, ค่า Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI เท่ากับ 0.96 และ ค่า RMSE Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA เท่ากับ 0.027 ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบการประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบและตัวแปรที่สังเกตได้ จำนวน 18 ตัว พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง 2. จากผลการวิจัยการวิเคราะห์หาความสำคัญและความน่าเชื่อถือได้ของการประเมินผลโครงการการสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์นั้น ค่าน้ำหนักหรือความสำคัญของตัวแปรที่สังเกตได้มีค่าน้ำหนักตั้งแต่ 0.69-0.87 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสอดคล้องในรายตัวแปร ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สังเกตได้และตัวแปรแฝงค่าสัมประสิทธิ์ของการพยากรณ์ (R2) หรือความน่าเชื่อถือได้จากการวัดมีค่าตั้งแต่ 0.57-0.80 แสดงว่าข้อคำถามหรือตัวแปรที่สังเกตได้มีความน่าเชื่อถือได้

References

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-13.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักคอมพิวเตอร์. (2555). การสอบวัดทักษะทางคอมพิวเตอร์. สืบค้น 2 ธันวาคม 2559, จาก http://www.tsu.ac.th/index.jsp?mod=RULES

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ, และวรางคณา ทองนพคุณ. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต 21st Century Skills: The Challenges Ahead. สืบค้น 2 ธันวาคม 2559, จาก https://www.scribd.com/doc/175320931

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

เสรี ชัดแช้ม. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา, 2(1), 15-42.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: มิสชั่น มีเดีย.

อสมา มาตยาบุญ, ทศวร มณีศรีขำ, สมสรร วงษ์อยู่น้อย, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบความรักแบบเพื่อนของนักเรียน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(84), 91-104.

Bollen, K..A., & Long, J.S. (1993). Introduction In K.A. & J.S. Long. Testing structural equation model. Thousand Oaks CA: sage Pubblications, Inc.

Hair, J., Blak, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Upper Sandle River, Prentice Hall.

McIver, J., & Carmines, E. G. (1981). Unidimensional scaling. Beverly Hill: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์