สไตล์การเรียนรู้กับสไตล์การสอน
คำสำคัญ:
สไตล์การเรียนรู้, สไตล์การสอนบทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ เด็กจะเรียนได้ดีหรือประสบความสำเร็จย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หนึ่งในนั้นได้แก่ สไตล์การเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันแวดวงการศึกษาตื่นตัวในเรื่องนี้กันมาก ผู้เรียนแต่ละคนจะมีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การทำความเข้าใจสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนจะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะการเรียนรู้แบบใด และการทำให้ผู้เรียนได้รู้จักว่าตนเองมีลักษณะการเรียนรู้แบบใด จะเป็นแนวทางนำไปสู่การปรับปรุงสไตล์การสอนของครู ดังนั้นถ้าผู้สอนตระหนักว่า ผู้เรียนแต่ละคนมีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกันก็จะช่วยให้ครูเข้าใจผู้เรียนได้ดีขึ้น และสามารถเลือกสไตล์การสอนที่สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
References
กรมวิชาการ. (2541). เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: กองวิจัยทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมวิชาการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตร.
จันทนา พรหมศิริ. (2535). แบบการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรรมศักดิ์ โทนไทย. (2551). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(3), 145-157.
ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์. (2548). การศึกษาวิธีการเรียน (Learning Style) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 ห้อง 3 โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: โปรแกรมวิชาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ประยุทธ ไทยธานี. (2550). แบบการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาตามทฤษฎีสมองซีกซ้ายและซีกขวา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประสาท อิศรปรีดา. (2538). แบบตรวจสอบรูปแบบการเรียนของคอร์ป. มหาสารคาม : โครงการจัดตั้งสำนักงานแนะแนวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ประสาร ศรีพงษ์เพลิด. (2556). พฤติกรรมการเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษาของนักศึกษาสายครูที่มีสไตล์การเรียนรู้แตกต่างกัน. ร้อยเอ็ด: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2533). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวนีย์ เพ็ชรนาดี. (2548). พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีสไตล์การคิดอัตมโนทัศน์และลักษณะมุ่งอนาคตแตกต่างกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัจฉรา ธรรมาภรณ์. (2531). แบบการเรียน : องค์ประกอบช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์, 4(10), 87-88.
Felder, R.M. (1993). Reaching the second tier: learning and teaching Styes in college sciene education. Journal of College Science Teaching, 23(5), 285-290.
Kolb, D.A. (1954). Learning styles inventory: self-scoring test and interpretation booklet. Boston: McBer and company.
Kolb, D. A. (1985). Learning style inventory: technical manual. Boston, MA: Hay Group, Hay Resources Direct.
Smith, L.H., & Renzulli, L.S. (1984). Learning style preference: a practical approach for classroom teachers. Theory into Practice, 23(Winter), 44-49.