บทบาทของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่ออำนวยความยุติธรรมในสังคม

ผู้แต่ง

  • วรพล พินิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร 10500

คำสำคัญ:

สำนักงานยุติธรรมจังหวัด, ยุติธรรมชุมชน, เครือข่ายยุติธรรมชุมชน

บทคัดย่อ

กระทรวงยุติธรรมมีภารกิจในการดำเนินการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชน ด้วยการจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทความสำคัญในระดับภูมิภาคเพื่อดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความไม่เป็นธรรมทางสังคมด้วยการพัฒนาแนวคิด “ยุติธรรมชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ การช่วยเหลือประชาชนในทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในชุมชนรวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งด้านกฎหมายและความยุติธรรมแก่ประชาชน เกิดการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในท้องถิ่นทั่วประเทศ ทั้งนี้ การสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชนจากภาคประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความเป็น “หุ้นส่วน” ระหว่างภาคประชาชนกับสำนักงานยุติธรรม จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ยังพบอุปสรรคต่อบทบาทในการดำเนินงานของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดในการพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนเนื่องจากพลวัตแห่งความเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาด้านคน ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ และปัญหาด้านอื่น ๆ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายบทบาทหน้าที่ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดในการดำเนินงานยุติธรรมชุมชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการอำนวยความยุติธรรมสู่ภาคประชาชนและสรุปประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานและนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนระบบยุติธรรมชุมชนในอนาคต

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2550). “ยุติธรรมชุมชน” : การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ใน คณะทำงานโครงการนำร่องพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชน, ยุติธรรมชุมชน : รวมงานวิจัย บทความ (น. 1-10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, สุทธิ สุขยิ่ง, และมูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ. (2550). ยุติธรรมชุมชน : การเปิดพื้นที่ของชุมชนในการอำนวยความยุติธรรม ใน คณะทำงานโครงการนำร่องพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชน, ยุติธรรมชุมชน : รวมงานวิจัยบทความ (น. 11-24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ. (2549). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และการจัดการความขัดแย้งในชุมชนมุสลิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สมชาติ เอี่ยมอนุพงษ์. (2550). ยุติธรรมชุมชนคืออะไร ใน คณะทำงานโครงการนำร่องพัฒนาระบบงานยุติธรรมชุมชน, ยุติธรรมชุมชน : รวมงานวิจัยบทความ (น. 49-69). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2559). สรุปการพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

Clear, T.R., & Karp, D.R. (1999). The community justice ideal: preventing crime and achieving justice. Boulder. CO: Westview Press.

Clear, T.R., & Karp, D.R. (2000). Toward the ideal of community justice. NIJ Journal, October, 20-29.

Dye, Thomas R. (2005). Understanding Public Policy. New Jersey: Pearson Education.

Osborne, David & Gaebler, Ted. (1992). Reinventing government: how the entrepreneurial spirit is transforming the public sector Reading. Mass.: Addison-Wesley Pub. Co.

Stivers, & Camillam. (1990). Active Citizenship and Public Administration. In G.L. Wamsley, R. N. Bacher, C. T. Goodspell, P. S. Kronenberg, J. A. Rohr, C.M. Stivers, O. F. White, & J. F. Wolf (Eds.), Refunding public administration (pp. 246-273). CA: Sage Publication.

Winstone, & Pakes, Francis. (2005). Community justice issues for probation and criminal justice. Oregon: Willan Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ