บทบาทของห้องสมุดกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ผู้แต่ง

  • เสาวภา เพ็ชรรัตน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210

คำสำคัญ:

บทบาทของห้องสมุด, Active Learning

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือสร้างความรู้ทำให้ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเรียนการสอนแบบ Active Learning อาศัยองค์ประกอบการเรียนรู้ที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ การคุยและการฟัง การเขียน การอ่าน และการสะท้อนความคิด ผู้ที่มีบทบาทโดยตรงต่อการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และห้องสมุด ห้องสมุดที่รองรับการเรียนการสอนแบบ Active Learning ควรมีความพร้อมใน 3 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านบริการ และด้านบรรณารักษ์ โดยความพร้อมด้านทรัพยากรสารสนเทศ เน้นการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนคำนึงถึงผู้สอนและผู้เรียนเป็นหลัก ความพร้อมด้านบริการ เน้นการจัดบริการเชิงรุกที่เข้าถึงผู้ใช้บริการได้ทุกกลุ่ม และน่าสนใจ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ความพร้อมด้านบรรณารักษ์ บรรณารักษ์ควรมีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสอนและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นสารสนเทศ ตลอดจนบรรณารักษ์ควรมีความรู้ความสามารถทั่วไป ได้แก่ มีทักษะการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการและมีจิตบริการ เป็นต้น

References

กุลธิดา ท้วมสุข, จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ทิพย์วัล ตุลยะสุข, และกันยารัตน์ ดัดพันธ์. (2548). บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารห้องสมุด, 49(4), 18-34.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2557, จาก https://www.drchaiyot.com

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติตามแนวทางของ Active Learning. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2557, จาก https://www.ite.org

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). รายงานการวิจัยในชั้นเรียนระดับอุดมศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาดโดยการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปิยสุดา ตันเลิศ, และกุลธิดา ท้วมสุข. (2554). บทบาทของห้องสมุดและนักวิชาชีพสารสนเทศ สำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2553-2562. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 17(4), 607-623.

พนมพร เผ่าเจริญ. (2549). การพัฒนากระบวนการเครือข่ายการพัฒนาครูด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พูลทรัพย์ ชื่นตา. (2548). การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาห้องสมุดมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. (2554). การสอนนักศึกษากลุ่มใหญ่ในรายวิชา Gsoc 2101 ชุมชนกับการพัฒนาโดยใช้การสอนแบบ Active learning และการใช้บทเรียนแบบ e-learning. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2552). จาก Active Learning …สู่ : Action Research. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ศุมรรษตรา แสนวาภา. (2555). บทบาทและความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศักดา ไชกิจเจริญภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, (2), 12-15.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ (Quality of student derived active learning process). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(2), 1-13.

สรุปการประชุมสัมมนา การติดตาม ทบทวนและต่อยอดการจัดทำองค์ความรู้ เรื่อง กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาในชั้นเรียน (น. 1-15 ). (2554). เชียงใหม่: สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา.

Suwannatthachote, P. (2012). Active Learning. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2557, จาก https://www.academic.chula.ac.th/elearning/content/active%20learning_Praweenya.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-05

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ