มองสังคมผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เรื่องเจ็ดจา

ผู้แต่ง

  • สิริพร รอดเกลี้ยง สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90100

คำสำคัญ:

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้, เจ็ดจา, สภาพสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษามองสังคมผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เรื่องเจ็ดจา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคมภาคใต้ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องเจ็ดจา โดยการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ สำหรับลักษณะคำประพันธ์ ประพันธ์ด้วยกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 และใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ในการดำเนินเรื่อง โดยมีการใช้ภาษาและโวหารอุปมาอุไมยที่ให้อรรถรสทางวรรณคดี วรรณกรรมเจ็ดจา แต่งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนานและสอดแทรกคติธรรมคำสอนเรื่องกรรม นอกจากนี้ยังสะท้อนภาษาถิ่นใต้ ค่านิยมของสังคมภาคใต้ สภาพสังคมและวิถีชีวิตที่เป็นแบบสังคมประเพณี สอดคล้องกับชีวิตและสังคมของชาวใต้

References

ขบวน พลตรี. (2537). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธวัช ปุณโณทก. (2543). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปัญญา บริสุทธิ์. (2523). โลกทัศน์ของคนไทย : วิเคราะห์จากวรรณกรรมคำสอนสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์.

สมพร มันตะสูตร. (2524). วรรณกรรม สังคม และการเมือง. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. (2542). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547). วรรณกรรมทักษิณ : วรรณกรรมพินิจ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

อิงอร จุลทรัพย์. (2555). การปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทหนังสือบุด เรื่องเจ็ดจา. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ