การกระจายอำนาจ : โครงสร้าง พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และความท้าทายบางประการในการบริหารท้องถิ่นไทย

ผู้แต่ง

  • ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช นครศรีธรรมราช 80000

คำสำคัญ:

การกระจายอำนาจ, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, การบริหารท้องถิ่นไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง การกระจายอำนาจ : โครงสร้าง พัฒนาการ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และความท้าทายบางประการในการบริหารท้องถิ่นไทย เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความชัดเจนในแง่ของความหมายและเป้าหมายของแนวคิดการกระจายอำนาจ โดยการศึกษาเชื่อมโยงกับบริบทของพัฒนาการและโครงสร้างของการกระจายอำนาจของไทย พิจารณาร่วมกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจของการบริหารราชการส่วนกลางและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการรวบรวมและวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นความท้าทายบางประการทางการบริหารท้องถิ่นไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการกระจายอำนาจ การจัดวางโครงสร้างการกระจายอำนาจของไทย พัฒนาการความสัมพันธ์ทางอำนาจ และความท้าทายในการบริหารท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่แนวโน้มใหม่ของการปรับตัวทางการบริหารท้องถิ่นไทย การกระจายอำนาจมีความหมายและเป้าหมายเพื่อลดทอนอำนาจของรัฐและพัฒนาการบริหารที่ตอบสนองตรงต่อความต้องการของประชาชนในระดับย่อยให้มากที่สุด สอดคล้องกับการบริหารจัดการแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance) ที่เป็นการพยายามสร้างกระบวนการเพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสในกระบวนการตัดสินใจบริหารจัดการตนเองในท้องถิ่น (Local Self Governing) โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางอำนาจเชิงประวัติศาสตร์ในการรวมศูนย์อำนาจที่เข้มแข็ง (Strong Centralization) มาอย่างยาวนาน แต่การพัฒนาโครงสร้างในการกระจายอำนาจที่ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านการบริหาร การเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยอำนาจของท้องถิ่นไม่ได้มีอิสระอย่างเต็มที่ในทางการบริหาร อันเนื่องจากการกำกับดูแลของการบริหารราชการส่วนกลางที่ยังมีอยู่สูงในหลายด้านทั้งด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดเก็บภาษีและงบประมาณ ปัญหาทางความสัมพันธ์ของนักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการประจำในท้องถิ่น รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจบริการสาธารณะยังไม่เต็มกระบวนการตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ

References

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2555). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Berman, M. E. (2011). Public Administration in Southeast Asia Thailand, Philippines, Malasia, Hongkong and Macao. New York: CRC Press.

Satio, F. (2008). Foundations for Local Governance Decentralization In Comparative Perspective. Japan: Physica-Verlag Heidelberg.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ