การใช้วารสารวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คำสำคัญ:
การใช้วารสารวิชาการ, บริการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการและปัญหาในการใช้วารสารวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือจัดเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรด้วยค่า t-test ค่า F test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) เปรียบเทียบเชิงซ้อนรายคู่ (multiple comparison) ของ LSD ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยว่า คณาจารย์ส่วนใหญ่ใช้วารสารวิชาการโดยการสืบค้นจากฐานข้อมูลดัชนีวารสาร ในระบบ WebOPAC ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ความถี่ในการเข้าใช้วารสารวิชาการ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ใช้เวลา 14.00-16.00 น. ช่วงอายุของวารสารที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ปีปัจจุบัน คำค้นที่ใช้ในการสืบค้นฐานข้อมูลดัชนีวารสารจะใช้หัวเรื่อง ลักษณะการใช้วารสารจะยืมไปถ่ายเอกสาร คณาจารย์ไม่เคยเสนอแนะให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศสั่งซื้อวารสารในสาขาวิชาที่ตนสอน เหตุผลที่บางคนไม่เข้าใช้บริการวารสารวิชาการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพราะเข้าใช้บริการจากฐานข้อมูลต่าง ๆ คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความต้องการใช้วารสารวิชาการโดยต้องการให้บรรณารักษ์ให้คำแนะนำวารสารที่น่าสนใจในแต่ละสาขาวิชา รวบรวมรายชื่อวารสารที่เกี่ยวข้องแต่ละสาขาวิชา มีวัตถุประสงค์ในการใช้วารสารวิชาการเพื่อการค้นคว้าวิจัย ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ต้องการให้มีบรรณารักษ์ช่วยแนะนำวารสารที่น่าสนใจในแต่ละสาขาวิชา ขั้นตอนในการสืบค้นวารสาร และควรมีบริการสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับใหม่แจ้งไปยังสาขาวิชา และคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้วารสารวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่พบ ได้แก่ ด้านทรัพยากร วารสารวิชาการที่ต้องการใช้มีจำนวนน้อย ด้านการให้บริการไม่ทราบวารสารวิชาการชื่อใดบ้างที่มีให้บริการ และด้านบรรยากาศภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องความสะอาดของชั้นวารสารวิชาการ
References
กานต์รวี โกมลดิษฐ์, ศิณีนาฎ ยมวรรณ และศรีรัตน์ ส่งศักดิ์ชัย. (2548). “การศึกษาการใช้วารสารภาษาต่างประเทศของห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,” วารสารพระจอมเกล้าลาดกระบัง. 13(1), 36 - 43.
จรัญญา ศุภวิฑิตพัฒนา. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้วารสารภาษาต่างประเทศในสำนักหอสมุด มหาวิทยาบูรพา. ชลบุรี : สำนักหอสมุด มหาวิทยาบูรพา.
ชัยเลิศ ปริสุทธกุล. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้วารสารวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2554). มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2556, จาก http://qalibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=7
นภพรรษ สุดปาน. (2552). “การใช้วารสารภาษาไทยในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,” วารสารห้องสมุด. 53(1), 25.
นวพร สุริยะ. (2553). “ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดของนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,” ข่าวสารห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26(2), 11 - 19.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2541). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาลี อิศรานนท์. (2551). การใช้วารสารอิเล็กทรอนิกส์ในสำนักหอสมุดของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สายทอง มโนมัยอุดม. (2538). “สารนิเทศสิ่งพิมพ์ CD-ROM, ระบบ Online,” ใน รวมบทความวิชาการบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (หน้า 79 - 97). เชียงใหม่ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุกัญญา กุลนิติ. (2549). ห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุธนา วงศ์ทองสรรค์. (2537). การศึกษาการใช้วารสารวิชาการของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอื้อมพร ศรีเดือนดาว. (2543). การใช้วารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.