ความต้องการสารสนเทศและแนวพัฒนาการบริการสารสนเทศสู่ชุมชน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก วิริยกุลโอภาศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000
  • กัณฐ์ธนาศิลป์ ธนูศร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000
  • ผกาทิพย์ ชูชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000
  • บุญฤทธิ์ คงลำพูน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

การบริการสารสนเทศ, บริการสารสนเทศสู่ชุมชน, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอ่าน การใช้ห้องสมุดของชุมชน เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะต่อการจัดบริการของสำนักหอสมุด และกำหนดแนวพัฒนาการบริการสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ชุมชนเข้าถึงมากขึ้น รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตามความสะดวกจากประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองสงขลา และอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดต่ออีก 4 อำเภอ ๆ ละ 90 คน รวมทั้งสิ้น 450 คน ด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพการศึกษา ด้านหน้าที่การงานมีผลต่อการอ่าน การใช้ข้อมูลสารสนเทศและการใช้ห้องสมุด โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษา และครูอาจารย์ อ่านหนังสือมาก (มากกว่า 5 เล่มต่อปี) ความถี่ในการใช้ห้องสมุดสูง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อ่านหนังสือระดับกลาง ๆ (3-5 เล่มต่อปี) เข้าห้องสมุดเป็นอันดับรองลงมา ส่วนประชาชนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังอ่านหนังสือน้อย (น้อยกว่า 2 เล่มต่อปี) บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลการบริการ มีอาจารย์ ข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ เข้ามาเกี่ยวข้อง และใช้บริการบ้างเพียงส่วนน้อย ศิษย์เก่าเคยใช้บริการทุกคนสมัยที่เป็นนิสิต แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็ไม่เข้าใช้บริการเช่นกัน ประชากรส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเข้าถึงสารสนเทศผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ส่วนการพัฒนาการบริการสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ชุมชนเข้าถึงได้มากขึ้นจำเป็นต้องพัฒนาการบริการผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) เพื่อเข้าถึงจากภายนอกได้สะดวก มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมบริการหลายช่องทาง ตั้งเครือข่ายชมรมนักอ่านในชุมชนเป็นสมาชิกพิเศษจะช่วยประชาสัมพันธ์สื่อความประสงค์ลดช่องว่างให้ชุมชนเข้าถึงพึ่งได้ จัดการสภาพสิ่งแวดล้อมให้ร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกเอื้อต่อผู้พิการ มีอาหารเครื่องดื่ม มีกิจกรรมบันเทิงสำหรับพักผ่อน จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนเพื่อความสะดวก จะช่วยให้การบริการมีประสิทธิภาพเข้าถึงชุมชนมากขึ้น

References

“นายกฯ เปิดโครงการ ร.ร. ดีประจำตำบลต้นแบบ,” (2553, 6 พฤศจิกายน). คมชัดลึก. หน้า 13.

ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล. (2556). “การรับรู้และความต้องการข่าวสารการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558,” BU ACADEMIC REVIEW. 12(1), 76-81.

ธเนศ กองประเสริฐ. (2555). กรุงเทพฯ : เมืองหลวงหนังสือของโลกปี 2013. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2555, จาก http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=1172

พรทิพย์ ชาตะรัตน์. (2544). การศึกษานิสัยการอ่านในรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชนชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้. สงขลา : ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ จังหวัดสงขลา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116, ตอนที่ 74 ก, หน้า 4, 9.

วรัญญา ภัทรสุข. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2548). การสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ : สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม.

Zickuhr, K., Rainie, L. and Purcell, K. (2013). Library services in the digital age. Retrieved March 22, 2013, from http://libraries.pewinternet.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

How to Cite

วิริยกุลโอภาศ ข., ธนูศร ก., ชูชาติ ผ., & คงลำพูน บ. (2023). ความต้องการสารสนเทศและแนวพัฒนาการบริการสารสนเทศสู่ชุมชน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 3, 1–19. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/379

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์