ศึกษาสภาพการเรียนการสอนดนตรี โรงเรียนดนตรีมีฟ้า หาดใหญ่
คำสำคัญ:
การสอนเปียโน คีย์บอร์ด, โรงเรียนดนตรีมีฟ้า หาดใหญ่บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนดนตรีของนักเรียนดนตรี โรงเรียนดนตรีมีฟ้าหาดใหญ่ ในด้านสภาพบรรยากาศ สื่อการเรียนการสอน บุคลากรครูผู้สอน และการส่งเสริมกิจกรรมแก่ผู้เรียนดนตรี ให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการทางดนตรีไปสู่การช่วยให้เด็กมีพื้นฐานดนตรีที่มั่นคง ซึ่งเป็นรากฐานในการเรียนดนตรีต่อไป อย่างน้อยที่สุดโรงเรียนควรจัดสรรห้องเรียน และบรรยากาศภายในห้องเรียนให้มีสีสันสดใสน่าดึงดูดต่อการเรียน เพราะมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้เรียน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน จำนวน 50 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน ของโรงเรียนดนตรีมีฟ้าหาดใหญ่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความคิดเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนดนตรีในโรงเรียนมีฟ้า หาดใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเครื่องดนตรีและสื่อการสอนอยู่ในระดับมาก (µ = 3.64) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากรครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก (µ = 3.52) การส่งเสริมกิจกรรมแก่ผู้เรียนดนตรีอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.33) ส่วนในด้านสภาพบรรยากาศอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.29) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนดนตรีโรงเรียนมีฟ้าหาดใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.28) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเครื่องดนตรีและสื่อการสอน และด้านบุคลากรและครูผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.40) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมกิจกรรมแก่ผู้เรียนดนตรีอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.20) ส่วน ด้านสภาพบรรยากาศภายในโรงเรียนและห้องเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.11) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
References
โกวิทย์ ขันธศิริ. (2550). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น). กรุงเทพฯ : แม่ไก่ขยัน.
จเร สำอางค์. (2550). สมองดี ดนตรีทำได้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ตรีรัตน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์. (2552). มหัศจรรย์ ONE TO FIVE ไม่มีใครในโลกเล่นเปียโนไม่ได้. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
บัณฑิต อึ้งรังสี. (2551). WORLD CLASS สร้างคนไทยไประดับโลก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2554). บทบาทของผู้ปกครองในการสนับสนุนการเรียนดนตรี. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2555, จาก http://mecbangna.igetweb.com/index.php?mo=3&art=443375
วรรณเทพ หาญกล้า. (2539). โรงเรียนดนตรีเอกชน : การศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุกรี เจริญสุข. (2551). เซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 ประจำปี 2551 (สูจิบัตรการประกวดรอบรองชนะเลิศ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุษณีย์ จันทรวิลักษณ์. (2534). การศึกษาการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับนักเรียนอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.