ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการวงออร์เคสตราเยาวชนเทศบาลนครยะลา
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, วงออร์เคสตรา, เทศบาลนครยะลาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการวงออร์เคสตราเยาวชนเทศบาลนครยะลา และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการวงออร์เคสตราเยาวชนเทศบาลนครยะลาของผู้ปกครองที่มี เพศ ศาสนา อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ ความสามารถทางด้านดนตรีของผู้ปกครอง และระยะเวลาที่ส่งบุตรหลานเรียนดนตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครอง จานวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับและแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (one-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการวงออร์เคสตราเยาวชนเทศบาลนครยะลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านการเรียนดนตรี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านครูผู้สอน และด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่าสุด 2. ผู้ปกครองที่มีเพศ ระดับการศึกษา และ ระยะเวลาในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ดนตรี ต่างกัน มีความพึงพอใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการวงออร์เคสตราเยาวชนเทศบาลนครยะลา ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
References
เชิดศักดิ์ ศรียาภัย. (2543). การศึกษาสภาพการสอนวิชาดนตรีในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 4. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนกฤษณ์ วงศ์คำจันทร์. (2544). ปัญหาการสอนวิชาดนตรีศึกษาในรายวิชาศิลปะกับชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญพิศ นัยน์พานิช. (2543). ความพึงพอใจในการบริการของผู้ใช้บริการ กรณีศึกษา : โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยภูมิพลสังคีต มหาวิทยาลัยมหิดล. ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
พัชรา พุ่มชาติ. (2533). อิทธิพลของเสียงดนตรีที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิโรจน์ มูฮำหมัด. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สิทธิ สิทธิการุณย์. (2545). การบริหารกิจกรรมนักเรียนด้านการจัดการวงโยธวาทิต กรณีศึกษา โรงเรียนวัดสุทธิวรารามและโรงเรียนมงฟอร์ดวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกรี เจริญสุข. (2532). จะฟังดนตรีอย่างไรให้ไพเราะ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษา หลักสูตรแนะแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.