การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • นภัสวรรณ ภัทรากุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000
  • ยุรฉัตร บุญสนิท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000
  • มาโนช ดินลานสกูล

คำสำคัญ:

การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเล่มนี้ ประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านและหาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของ โรงเรียนบ้านคลองตัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและด้านภาษาไทย จำนวน 5 คน ซึ่ งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่าน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่า E1 และ E2 หาค่าประสิทธิภาพเครื่องมือและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับ 81.60/84.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนของนักเรียนหลังจากใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}= 4.28) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง “มหัศจรรย์ชายแดนใต้” อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.25)

References

กรมวิชาการ. (2544). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพการอ่านของนักเรียนและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุศยา แสงเดช และ อุไร สุขรัตน์. (2545). หนังสือส่งเสริมการอ่าน : คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : แม็ค.

จินตนา ใบกาซูยี. (2534). การจัดทาหนังสือส่งเสริมการอ่านสาหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

จินตนา ใบกาซูยี. (2537). การเขียนสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การทำหนังสือสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาการ.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2540). เคล็ดลับการเขียนเรื่องสั้น. กรุงเทพฯ : มิติใหม่.

แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. (2539) “พระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาญาณด้านภาษาหนังสือและห้องสมุด” ใน เอกสารประกอบการอบรมส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติ. หน้า 1-17. กรุงเทพฯ : สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย.

รัญจวน อินทรกำแหง. (2520). แบบเรียนการใช้ห้องสมุด (หส 001). กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2540). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.

อภิวรรณ วีระสมิทธ์. (2544). หนังสือสำหรับเด็กกับการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์