การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองไม้แดง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองไม้แดง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบแบบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.53/82.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนย่อหน้าระดับมาก
References
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ บรรณาธิการ. (2550). ภาษากับการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เพรส.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2552). ศิลปะการเขียน. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
รสริน ดิษฐบรรจง. (2552). การเขียน. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2536). วิธีสอนภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.