รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานสหกรณ์กับสหกรณ์การเกษตร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ยุพา ทองช่วง คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม 73000
  • ชูวิทย์ มิตรชอบ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม 73000
  • วิภาวี พิจิตบันดาล คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม 73000

คำสำคัญ:

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ความผูกพันของพนักงานสหกรณ์, สหกรณ์การเกษตร, กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอธิบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยภาวะผู้นำของผู้จัดการสหกรณ์ และปัจจัยพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของสหกรณ์ต่อความผูกพันของพนักงานสหกรณ์กับสหกรณ์การเกษตร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การพัฒนาแบบสอบถามในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านสหกรณ์ จำนวน 10 ท่าน ขั้นตอนที่สอง นำความรู้ที่ได้มาสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสหกรณ์การเกษตรทุกตำแหน่ง จำนวน 231 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบสมการโครงสร้างวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในรูปแบบที่ศึกษา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้จัดการสหกรณ์และพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของสหกรณ์ ต่อความผูกพันของพนักงานสหกรณ์กับสหกรณ์การเกษตร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำของผู้จัดการสหกรณ์และพฤติกรรมการเป็นพนักงานสหกรณ์มีความสัมพันธ์ทางตรงต่อความผูกพันของพนักงานสหกรณ์กับสหกรณ์การเกษตร ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ ภาวะผู้นำของผู้จัดการสหกรณ์มีค่าความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = .24) และพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของสหกรณ์มีความสัมพันธ์ในระดับที่สูงกว่า ภาวะผู้นำของผู้จัดการสหกรณ์ คือ อยู่ในระดับปานกลาง (r = .57) โดยองค์ประกอบการสร้างแรงบันดาลใจ สามารถอธิบายภาวะผู้นำของผู้จัดการสหกรณ์ได้ดีที่สุด (r = .92) ขณะที่พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นสามารถอธิบายพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของสหกรณ์ได้ดีที่สุด (r = .67) และความผูกพันด้านบรรทัดฐาน สามารถอธิบายความผูกพันของพนักงานสหกรณ์ได้ดีที่สุด แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของความเป็นสหกรณ์และบริบทของสังคมไทยที่ความเป็นพี่เป็นน้องเป็นคนบ้านเดียวกัน ความมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้สึกผูกพันกับสหกรณ์ของพนักงานสหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดอบรมพนักงานสหกรณ์ให้เห็นความสำคัญของการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบมากขึ้น

References

กาญจนา นุใจกอง. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติรัตน์ มีมาก. (2548). การจัดการที่มีประสิทธิผลของสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ตรวจบัญชีสหกรณ์, กรม. (2553). รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์การเกษตร ประจำปี 2553. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2554, จาก : http://www.Cad.go.th

ประทานพร ทองเขียว. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำแบบเน้นการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลของหน่วยงานพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วันชัย ธรรมสัจการ, รัตติกรณ์ จงวิศาล, สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์, สุทิติ ขัตติยะ และดุษฎี โยเหลา. (2542). การสร้างเครื่องมือวัดภาวะผู้นำ. วารสารสงขลานครินทร์, 2(5), 150-165.

สรัญญา จันทรรวงทอง. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การมีอคติทางเพศและการรับรู้ความยุติธรรมของผู้บังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Avolio, B. J., Zhu, W. Koh, W., & Bhatia, P. (2004). Transformational Leadership and Organizational Commitment: Mediating Role of Psychological Empowerment and Moderating Role of Structural Distance. Journal of Organizational Behavior, 25: 951-968.

Bass, B. M., Avolio, B. J., Jung, D. I. & Berson, Y. (2003). Predicting unit performance by assessing ransformational and transactional leadership. Journal of Applied Psychology, 88(2), 207-218.

Bolino, M.C. and Turnley, W.H., (2003). Going the extra mile: Cultivating and managing employee citizenship behavior. Academy of Management Executive, 17, 60-71.

Bono, J. E. & Judge, T. A. (2003). Core self-evaluations: A review of the trait and its role in job satisfaction and job performance. European Journal of Personality, 17, 5-18.

Borman, H. W., Mackenzie, B. S. & Podsakoff, M. P. (1996). Transformational leader behaviors and substitutes for leadership as determinants of employee satisfaction, commitment, trust and organizational citizenship behaviors. Academy of Marketing Science Journal. 29(2), 115-134.

Brewer, A. & Lok, P. (1995). Managerial strategy and nursing commitment in Australian hospitals. Journal of Advanced Nursing. 21, 789-799.

Dumdum, U. R. , Lowe, K. B. & Avolio, B. (2002). A Meta-Analysis of Transformational and Transactional Leadership Correlate to Effectiveness and Satisfaction; An Update and Extension. In Avolio, B. J. and Yummarino, F. J. (Eds). Transformational and Charismatic Leadership : The Road Ahead, 2: 35-66, Oxford, UK, Elsevier Science.

Freund, A. (2005). Commitment and job satisfaction as predictors of turnover intentions among welfare workers. Administration in Social Work, 29(2), 5-21.

Herscovitch, L. & Meyer, J. P. (2002). Commitment to organizational change: extension of a three-component model. The Journal of applied psychology, 87(3), 474-487.

Gautam, T., Dick, R. V., Wagner, U., Upadhyay, N. & Davis, A. J. (2005 ). Organizational citizenship behavior and organizational commitment in Nepal. Journal of Social Psychology, 8, 305-314.

Greenberg, j. & Baron, R. A. (2003). Behavior in organizations. 9th ed. Upper Saddle River, NJ : Prentice-Hall.

Greenberg, J. & Barling, L.; (1999). Predicting employee aggression against coworkers, subordinates and supervisors: The roles of person behaviors and perceived workplace factors. Journal of Organizational Behavior. (20), 897–913.

Ishak, N. A. (2005). Promoting Employees’ Innovativeness and Organizational Citizenship Behavior through Superior-Subordinate Relationship in the Workplace. Research and Practice in Human Resource Management, 13(2), 16-30.

Judge, T. A., Piccolo, R. F., & Ilies, R. (2004). The forgotten ones? The validity of consideration and initiating structure in leadership research. Journal of Applied Psychology. (89), 36-51.

Meyer, J. P. & Allen, N. J. (1991). A three component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review. (1), 61-89.

Moorhead, G. & R. W. Griffin. (2001). Organizational Behavior : Managing People and Organizations. 6th ed. Massachusetts : Houghton Mifflin Company.

Nelson, D.L. and Quick, J.C. (2003), Organizational Behaviour : Foundation, Realities and Challenges (4th ed.), Australia : Thomson South-Western. . pp. 377-410.

Organ, D., W. & Ryan, K. (1995). A meta-analytic review of attitudinal and dispositional predictors of organizational citizenship behavior. Personnel Psychology. (48), 775- 802.

Podsakoff, P.M., Ahearne, M., & MacKenzie, S.B. (1997). Organizational citizenship behavior and quantity of work group performance. Journal of Applied Psychology. (82), 262-270.

Podsakoff, M.P., Mackenzie, B.S., & Rich, A.G. (2001). Transformational and transactional leadership and sale person. Academy of Marketing Science Journal. 29(2), 115-134.

Samad, S. (2011). The Effects of Job Satisfaction on Organizational Commitment and Job Performance Relationship: A Case of Managers in Malaysia’s Manufacturing Companies. European Journal of Social Sciences. (18)4, 602-611.

Schnake, M. E., & Dumler, M. P. (2003). Levels of measurement and analysis issues in organizational citizenship behavior research. Journal of Occupational and Organizational Psychology. (76), 283-301.

Shamir, B., Zakay, E. Breinen, E., & Popper, M. (1998). Correlates of charismatic leader behavior in military units: Subordinates' attitudes, unit characteristics, and superiors' appraisals of leader performance. Academy of Management Journal. (41), 387-409.

Schappe, S.P. (1998). The influence of job satisfactions, organizational commitment and fairness perception on organizational citizenship behavior. Journal of Psychology, 132(3), 277-290.

Scott-Ladd, B., Travaglione, A. & Marshall, V. (2006). Causal inferences between participation in decision making, task attributes, work effort, rewards, job satisfaction and commitment. Leadership & Organization Development Journal, 27(5), 399-414.

Trautmann, K., Maher, J. K., & Motley, D. G. (2007). Learning strategies as predictors of transformational leadership :The case of nonprofit managers. Leadership & Organization Development Journal. (1)30: 269-287.

Vigoda E., & Cohen, A. (1998). Organizational Citizenship Behavior (OCB): Evaluating organizational efficiency and success through employee performance in the Israeli public sector. Journal of Management Systems. (10)3, 59-72.

Walumbwa, F.O., Wang, P., Lawler, J.J. & Shi, K. (2004). The role of collective efficacy in the relations between transformational leadership and work outcomes. Journal of Occupational and Organizational Psychology. (77), 515-530.

Yousef, D.A. (2000). Organizational commitment as a mediator of the relationship between Islamic work ethic and attitudes toward organizational change. Human Relations. (53)4, pp. 513-537.

Yukl, G. (2010). Leadership in organizations (7th ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์