ผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ธรณีพิบัติภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรียะลา

ผู้แต่ง

  • ฮารีส มามะ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 95000
  • โซฟีลาน มะดาแฮ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 95000
  • ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 95000

คำสำคัญ:

สะตีมศึกษา, การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก, ชุดกิจกรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา (STEAM Education)ได้นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์แก่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกตามแนวสะตีมศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ 1 เรื่อง ธรณีพิบัติภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหา ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์ E1/E2 (80/80) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกตามแนวสะตีมศึกษา เรื่อง ธรณีพิบัติภัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรียะลา จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 1/2563 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกตามแนวสะตีมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก ตามแนวสะตีมศึกษามีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.89/80.83 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 51.18 และ 80.82 ตามลำดับ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจในการจัดการเรียนตามแนวสะตีมศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.72 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

จารีพร ผลมูล, สุนีย์ เหมะประสิทธิ์, และเกริก ศักดิ์สุภาพ. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบSTEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : กรณีศึกษา ชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.), 3(2), 1-13.

ณัฐดนัย เนียมทอง. (2561). จาก STEM สู่ STEAM. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565, จาก Scimath.org/article-stem/item/7812-stem-steam

ภิญโญ วงษ์ทอง. (2562). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ STEAM Education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10(1), 94-112.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ส่งความสุขสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุภาพร พรไตร, และชนันธร อุดมศิลป์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแบงเซลล์แบบไมโอซิสด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติบนฐานการสืบเสาะวิทยาศาสตร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 9(2), 153-168.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-24

How to Cite

มามะ ฮ., มะดาแฮ โ., & สุนทรนนท์ สินไชย ป. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ธรณีพิบัติภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรียะลา. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11, 101–118. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/328

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์