แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา, การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูในสถานศึกษาและครูฝึกในสถานประกอบการ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ และด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัย พบว่า 1. การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย พบว่า สามารถเสนอแนวทางพัฒนา 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียนหรือผู้สำเร็จการศึกษาควรมีการเพิ่มและพัฒนาขีดความสามารถในการเตรียมความพร้อมของนักเรียน นักศึกษาระบบทวิภาคีก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน 2) ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ควรพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การปรับปรุงหลักสูตร และพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานวิชาชีพและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในยุค New Normal 3) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ โดยจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา แผนปฏิบัติการการศึกษาระบบทวิภาคี และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา บริหารระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ 4) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ มีการสร้างและพัฒนาความรู้ ทักษะในการวางการศึกษาระบบทวิภาคีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ขยายเครือข่ายตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการให้เพิ่มมากขึ้น
References
ณัฐวิทย์ มุงเมือง. (2560). การพัฒนาความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยการอาชีพในภาคเหนือตอนบน. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 13(1), 133-146.
ตรีนุช เทียนทอง. (2564). คำแถลงนโยบายการจัดการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564. สืบค้น 16 ธันวาคม 2564, จาก https://moe360.blog/2021/04/16/education-policy/
บุญลือ ทองเกตุแก้ว. (2559). การบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย. (2563). งานประกันคุณภาพสถานศึกษา. พิษณุโลก: สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). ข้อมูลจำนวนนักเรียน นักศึกษาทวิภาคี ประจำปีการศึกษา 2564. สืบค้น 16 ธันวาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/c49zL
สุเทพ แก่งสันเทียะ. (2564). สอศ. ตั้ง 15 ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่ ตอบโจทย์ความต้องการแรงงาน. สืบค้น 16 ธันวาคม 2564, จาก https://www.naewna.com/local/620881
สุระชัย ลาพิมพ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำฉบับออนไลน์, 8(30), 137-147.