ความหลากหลายของกระบวนทัศน์ใหม่ในการเมืองฐานราก: ภาพสะท้อนมุมมองผู้ปฏิบัติการทางการเมืองท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อัศว์ศิริ ลาปีอี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา 90000

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์ใหม่, การเมืองท้องถิ่นฐานราก, จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองท้องถิ่น บนฐานการประกอบสร้างฉากทัศน์ทางการเมืองที่แตกต่างกันระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ อันสะท้อนถึงการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดสู่การผลิตซ้ำมุมมองความหลากหลายว่าด้วยการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ผ่านสนามการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งได้มาด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 11 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่สะท้อนมุมมองการเปลี่ยนผ่านบริบทการเมืองในภาพรวม กลุ่มผู้ปฏิบัติการทางการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองท้องถิ่นแนววิพากษ์ประกอบการตีความสร้างข้อสรุป โดยผลการวิจัย พบว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองท้องถิ่นเป็นผลสะท้อนภาพความแตกต่างของจุดยืนทางญาณวิทยาระหว่าง “การเมืองเรื่องพื้นที่” และ “การพัฒนาผลิตภาพขององค์การ” ซึ่งสัมพันธ์กับการประกอบสร้างฉากทัศน์ทางการเมืองที่ต่างกันระหว่างข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ขณะเดียวกันความเชื่อมโยงทางญาณวิทยาและแนวการศึกษาท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการปรับกระบวนทัศน์ใหม่นั้น ควรเน้นกระบวนการสร้างการยอมรับความหลากหลายทางความคิดมากขึ้น ถือเป็นข้อเสนอสำหรับการก้าวข้ามอุปสรรคของขั้วตรงข้ามระหว่าง ผู้ปฏิบัติการไปสู่การสร้างดุลยภาพใหม่ภายใต้กลไกการร่วมผสานความรู้ และร่วมทบทวนวิธีการแสวงหาความรู้สู่การตอบสนองรูปแบบจัดการปัญหาทับซ้อน ในพื้นที่ ทั้งยังสนับสนุนกระบวนการสร้างแนวทางพัฒนาการเมืองท้องถิ่นซึ่งสอดรับกับบริบทจังหวัดสุราษฎร์ธานี

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://www.dla.go.th/work/abt/province.jsp

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การจัดการปัญหาการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

จารึก ถาพร. (2556). ความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา, 2(1), 108-132.

จุมพล หนิมพานิช. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสน-ศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตัวแทนผู้ให้ข้อมูลฝ่ายข้าราชการประจำ. นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (7 กรกฎาคม 2565). บทสัมภาษณ์.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, ชัยณรงค์ เครือนวน, และจิตรา สมบัติรัตนานันท์. (2564). การสํารวจเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(1), 1-25.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2562). การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น : ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 17(3), 135-155.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง. (8 มกราคม 2566). บทสัมภาษณ์.

ภานุ ศรีบุศยกาญจน์. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์. (25 พฤษภาคม 2565). บทสัมภาษณ์.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. (2555). การเมืองในกระบวนการกระจายอำนาจ : ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

อโณทัย วัฒนาพร, และพินสุดา วงศ์อนันต์. (2559). การปฏิรูปการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

อภิชาต สถิตนิรามัย, ยุกติ มุกดาวิจิตร, และนิติ ภวัครพันธุ์. (2556). ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์. (2558). เศรษฐศาสตร์การเมืองสำหรับการบริหารและจัดการสาธารณะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัศว์ศิริ ลาปีอี. (2564). การสำรวจอัตลักษณ์ทางการเมืองเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี (รายงานผลการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อัศว์ศิริ ลาปีอี. (2565). การปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์ในบริบทร่วมสมัย ภายหลังแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (รายงานผลการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Ockey, J. (2017). Team work: Shifting patterns and relationships in local and national politics in Thailand. Journal of Social Issues in Southeast Asia, 32(2), 562-600.

Scott, J. (2006). Documentary research. London: Sage.

Thomas, G. (2011). A typology for the case study in social science following a review of definition, discourse, and structure. Qualitative Inquiry, 17(6), 511-521. Doi:10.1177/1077800411409 884

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์