การมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ของ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ศิริพร แซ่อึ้ง สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ 10240
  • ลัดดาวัลย์ ลี้ละไกรวรรณ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ 10240

คำสำคัญ:

ความต้องการมีส่วนร่วม, การจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ และความต้องการมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้ที่เคยใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลาง จำนวน 13 คณะ โดยการสุ่มแบบเจาะจงและได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 126 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในกลุ่มสังกัดทางสังคมศาสตร์ ตำแหน่งอาจารย์ที่สอนในระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การสอน 1-5 ปี ทราบว่าสำนักหอสมุดกลางมีบริการฐานข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์มากที่สุด รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุดกลาง ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทย และฐานข้อมูล SpringerLink - Journal ด้านปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหาระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านฐานข้อมูล พบว่า ฐานข้อมูลออนไลน์ไม่มีเอกสารฉบับเต็มหรือมีน้อยเกินไป ส่วนด้านผู้ให้บริการและด้านระบบเครือข่ายมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และด้านผู้ใช้บริการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การมีส่วนร่วมในการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลางโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอาจารย์ต้องการมีส่วนร่วมในด้านการส่งเสริมการบริการอยู่ในระดับมาก คือ การอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ส่วนด้านกระบวนการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ การสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า ต้องการใช้และเสนอให้พิจารณาฐานข้อมูลทั้งทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะและความรู้ในการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ด้านผู้ให้บริการยังขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งสารสนเทศของผลงานวิชาการ งานวิจัย และต้องการให้แนะนำฐานข้อมูลใหม่ ๆ หรือแจ้งฐานข้อมูลออนไลน์ให้ทราบในแต่ละปีงบประมาณให้กลุ่มอาจารย์ทราบ เพื่อช่วยให้คำแนะนำและคำปรึกษาในการพิจารณา ด้านระบบเครือข่ายส่วนใหญ่มีปัญหาในการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย และต้องการมีส่วนร่วมในการประเมิน การใช้ฐานข้อมูล รวมทั้งเสนอให้มีการจัดแผนการอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์

References

กุลวดี ทัพภะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศแบบมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค. (2560). 3 ทศวรรษ PULINET สานพลังที่ยั่งยืน. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.

บงกช จันทรรัตน์. (2553). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ในโครงการ ThaiLIS ของบุคลากรห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สำนักงานสาขาวิทยเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ. (2565). เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.oasc.ru.ac.th/

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สำนักหอสมุดกลาง. (2564). รายงานประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้น 30 กันยายน 2565, จาก https://www.lib.ru.ac.th/about/strategy.php

รสสุคนธ์ ไตรรงค์. (2555). การใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

รสสุคนธ์ อุดมศรี, ชุมภู เมืองคลี่, ศิริรัตน์ น้ำจันทร์, และชไมพร ตะเภาทอง. (2559). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสารสนเทศ, 15(2), 82-91.

รุจิรดา ระวีศรี. (2558). การใช้และความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับโดยศูนย์บรรณสารและสื่อสารการศึกษาของอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลำพึง บัวจันอัฐ. (2561). การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของอาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

สุภัททิรา โทนแก้ว. (2557). การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หาบีบะ ดาตู. (2558). การใช้ ปัญหา และความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Roger, S. A. (2001). Electronic journals usage at Ohio State University. College and Research Library, 62(1), 25-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์