การพัฒนาการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาและการใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับวิชาประชากรและการอนามัยเจริญพันธุ์

ผู้แต่ง

  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนสะเต็มศึกษา, การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาในบริบทการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 218 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และทำการสอนกับนักศึกษา 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 60 คน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้การเรียนการสอนรูปแบบปกติและกลุ่มที่ทำการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าควรพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษาในบริบทการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.32) ซึ่งการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใช้การบูรณาการสะเต็มศึกษากับเนื้อหาของวิชาโดยจัดการสภาพแวดล้อมหรือบริบทการเรียนรู้ตามหลักของการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งมีลักษณะผสมผสานระหว่างการเรียนการสอนในห้องเรียน และการค้นคว้าด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการประเมินประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ ( gif.latex?\bar{X}=4.60) คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาระหว่างการจัดการเรียนการสอนรูปแบบปกติกับการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.08)

References

ณพงศ์ วรรณพิรุณ. (2559). รูปแบบการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(12), 84-96.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2562). ชีวสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดู เคชั่น.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการจัดการชีวิตของวัยรุ่นหญิง มารดาวัยรุ่น และครอบครัว. วารสาร BU Academic Review, 19(1), 48-61.

ภูวดล บัวบางพลู. (2554). การพัฒนาระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายระดับอุดมศึกษา. SDU Res. J., 7(2), 1-17.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). รู้จักสะเต็ม: STEM Education Thailand. สืบค้น 24 กันยายน 2663, จาก http://www.stemedthailand.org/?page_id=23%20

สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 13-34.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Barbara, M., Wang, H., Xin, W., Young, V., & Emi, I. (2021). Impacts of attending an inclusive STEM high school: Meta-Analytic estimates from five studies. International Journal of STEM Education, 8(4), 1-19.

Barrows, H.S. (1996). Problem-based learning in medicine and beyond: A brief overview. New Directions for Teaching and Learning, (68), 3-12.

Ceylan, S., Zeynep, S.A., & Seyit, A.K. (2018). STEM skills in the 21st century education. Turkey: Bozok University.

National Research Council. (2012). A framework for K-12 science education: Practices, crosscutting concept, and core ideas. Washington, DC: National Academy Press.

Vasquez, J.A., Sneider, C., & Comer, M. (2013). STEM lesson essentials: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Portsmouth, NH: Heine- mann.

Wood, D.F. (2003). ABC of learning and teaching in medicine: Problem based learning. BMJ, 326(7384), 328-330.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์