มะม่วงดินเอียดป่าปอ: การผลิตและการตลาดมะม่วงเขียวเสวยดินเค็ม ตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น: การศึกษาขั้นต้น

Main Article Content

หทัยภัทร ขุริรัง
ไกรเลิศ ทวีกุล
ยศ บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

        มะม่วงดินเอียดป่าปอ เป็นมะม่วงที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม ในพื้นที่ตำบลป่าปอ อำเภอบ่านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยเกษตรกรนิยมปลูกมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความเป็นลักษณะเฉพาะดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมะม่วงดินเอียดป่าปอ โดยดำเนินการศึกษาในเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2565 ผลการศึกษา พบว่า (1) การผลิต: เนื่องด้วยดินเค็ม pH 5.5-6.5 เป็นอุปสรรคในการปลูกพืช ในปี 2530 จึงมีเกษตรกรเริ่มแรกจำนวน 4 ราย ทำการปลูกมะม่วงเขียวเสวยในพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งพบว่า มะม่วงที่ปลูกสรมารถให้ผลผลิตได้และผลผลิตมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยปัจจุบัน มีเกษตรกรที่ทำการปลุกมะม่วงดินเดียดเพิ่มขึ้นกว่า 400 ราย มีพื้นที่ปลูกกว่า 3,200 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 4,700 ตันต่อปี มูลค่าการตลาดมากกว่ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี โดยการผลิตของเกษตรกรมีทั้ง การผลิตมะม่วงนอกและในฤดู ในช่วงเดือนมิถุนายน-มกราคม และเดือนธันวาคม-เมษายน ตามลำดับ โดยการผลิตในฤดูกาล มีขั้นตอนการผลิตและพิถีพิถันมากกว่าการผลิตในฤดู เนื่องจากการผลิตแบบนอกฤดูให้ผลตอบแทนจากการผลิตที่ดีกว่า  หากทำการผลิตนอกฤดูไม่สัมฤทธิ์ผล เกษตรกรจะบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มะม่วงให้ผลผลิตตามฤดูกาลปกติ โดยผลผลิต(ผลแก่ประมาณ 80%) มีการคัดเกรดก่อนการซื้อขายซึ่งจำแนกได้ 6 เกรด ได้แก่ เบอร์ใหญ่ เบอร์รอง เบอร์เล็ก เบอร์หาง เบอร์ลายใหญ่ เบอร์ลายเล็ก และคละเบอร์ สำหรับ (2) ด้านการตลาด: พบว่า มี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1.1) การจำหน่ายผ่านล้งหรือจุดรวบรวมผลผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 78 ของผลผลิตทั้งหมด (1.2) การจำหน่ายหน้าสวนให้พ่อค้าคนกลางและผู้ค้าปลีก และ (1.3) การจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงผ่านร้านค้าริมถนน โดยมีมูลค่าการตลาดประมาณ 80, 15 และ 5 ล้านบาทต่อปี ตามลำดับ ดังนั้น ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงดินเดียดป่าปอและมูลค่าทางเศฐกิจกว่า 100 ล้านบาทต่อปี หากได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการยกระดับมะม่วงดินเอียดป่าปอเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ เกิดผลานันท์. (2564). เปิดตลาดมะม่วงโลก ผลไม้เมืองร้อนยอดฮิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/world/940273?fbclid=IwAR3c8HkulSwTLKAHmCELjz7hLoMx74UBgU2dP40ufkLbzBuA70QD2OKLQcU.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2564). รายงานแนวโน้มสินค้ามะม่วงในตลาดจีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565. จาก: https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename =contents_attach/732720/732720.pdf&title=732720&cate=414&d=0.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). ตารางฝนอำเภอรายเดือนปี2564. ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2565 จาก http://www.khonkaen.tmd.go.th/rainmet_kk.php?fbclid =IwAR1tEcdQVhCvjvRL7XAqwVCjhykI4g2Ihr5zFgdXnDZXPjr0R3BhryrTyn0.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2565). ภูมิอากาศจังหวัดขอนแก่น. ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2565. จาก http://climate.tmd.go.th/data/province/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ภูมิอากาศขอนแก่น.pdf?fbclid=IwAR1gcjmxENcrPeEt8D2QbPalVku5rClWrWbsNWnPkntCvB5agtucfz6qGuA.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). การเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาคประจำเดือน พฤษภาคม 2564.กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและและยุทธศาสตร์การค้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565.จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/wiekhraaahsthaankaarnesrsthkicchkaarkhaaraayphuumi_0.pdf.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). การเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2565. กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและและยุทธศาสตร์การค้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 จาก.http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/wiekhraaahesrsthkicchphuumiphaakhpracchameduuenemsaay_0.pdf.

องค์การบริหารส่วนตำบลป่าปอ. (2565). ข้อมูลทั่วไปของตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าปอ

Google Map Application. (2002). Google Map Application. https://bit.ly/3Flbcmn

Land Development Department. (2025). Soil series of Thailand. Soil survey Division. Land Development Department, Mistry of Agriculture and Cooperatives.