บาหลี สำเนียงเสียงกาเมลัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บาหลีเป็นเกาะที่มีวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานนับพัน ทั้งในด้านความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี สภาพแวดล้อมมีความสวยงาม สงบและร่มเย็น ในทุกๆที่จะมีสายน้ำไหลผ่าน ไม่ว่าจะในหมู่บ้านหรือระหว่างเมืองราวกับเสียงวงดนตรี กาเมลัน กำลังบรรเลงผ่านเสียงสายน้ำที่ไหลไปทั่วทุกผืนแผ่นดิน สร้างความชุ่มชื่นรื่นรม ทำให้แก่ผู้มาเยือน ประสบการณ์จากการเดินทางไปศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรี ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเชีย โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยสัมภาษณ์เชิงลึกบันทึก สังเกตการณ์ และนคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีกาเมลัน
ดนตรีกาเมลัน (Gamelan Music) เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องที่ทำด้วยโลหะชนิดต่างๆ ทั้งเหล็ก ทองเหลือง และสำริดเป็นหลัก การเล่นดนตรีกาเมลันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย ผู้บรรเลงในวงถ่ายทอดความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียว ผ่านเสียงอันไพเราะ เสียงดนตรีกาเมลันจะได้ยินทั้งในโรงเรียน ในวัด ในวัง และสถานี วิทยุกระจายเสียง ราวกับสายน้ำที่ไหลจากที่หนึ่งสู่ที่อีกที่หนึ่ง สร้างความเย็นกายสบายใจให้กับผู้คนทั้งเมือง ดื่มด่ำกับความผาสุกในชีวิต โอกาสที่จะบรรเลงก็แตกต่างกันไป มีทั้งบรรเลงในพิธีศักดิ์สิทธิ์ บรรเลงในงานรื่นเริง บรรเลงรับและส่งเจ้านาย บรรเลงประกอบการแสดงต่าง ๆ ชาวบาหลีเชื่อว่า พิธีกรรมหรืองานพบปะ ใดๆจะไม่สมบูรณ์หากไร้ดนตรีและลีลา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2538). นาฏศิลป์อินโดนีเซีย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงกมล การไทย . (2559). วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาค ม 2562. จาก http://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=3&sj_id=16.
ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. (2547). เมืองยั่งยืนในเอเชีย: แนวคิดและประสบการณ์จากเมืองนาราและบาหลี. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
พรศิริ ถนอมกุล. (2554). สายใยนาฏศิลป์ไทยกับนาฏศิลป์อินโดนีเซีย. ศิลปากร, 28-40.
วราภรณ์ สาราญ และคณ ะ. (2558). วิถีแห่งเทพเจ้าของชาวบาหลี. ค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562. จาก https://aseanstudies2015.wordpress.com
ศุภวรรณ . (2 5 5 4 ). วิถีชาวบาหลีวิถีแห่งเทพเจ้า . ค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 . http://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2011/09/14/entry-2
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. (2528). บุหงาราไป. กรุงเทพมหานคร.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2525). ไปบาหลีแล้วมีงานบุญวิสาขะบนเกาะชวา. ศิลปวัฒนธรรม, 14-36.