การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และ 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์(หลักสูตรสี่ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ผู้สอน บัณฑิตและนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ตามรูปแบบ CIPP model ทำการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ค่าคุณภาพของเครื่องมือเท่ากับ 3.81/4.00 การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อหลักสูตรในแต่ละด้านและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้ง 4 มีความพึงพอใจในระดับมาก ดังนี้ 1) ด้านบริบท กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อวัตถุประสงค์ของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก 2) ด้านผลผลิต ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตอยู่ในระดับมาก 3)ด้านปัจจัยนำเข้า ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4)ด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). รายงานผลการดาเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (วันที่ 12 กันยายน 2557– 12 กันยายน 2558). ผลงานรัฐบาลครบรอบ 1 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/upload/news_ policyPRAYUT/FileUpload/43356-4624.pdf.
กิตติมา พันธ์พฤกษา, วิโรฒน์ ชมภู, ศาณิตา ต่ายเมือง, ลักษณ์มงคล ถาวรณา, ชัชวาล พูลสวัสดิ์ และสิริลักษณ์ แสงจันทรา. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(1): 12- 24.
จรรยา ดาสา, ณสรรค์ ผลโภค, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์ และสมปี่รถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา(แผน ข) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (รายงานการวิจัย/มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
จิราวรรณ กล่อมเมฆ, จันทนา หล่อตจะกูล, เพชรรัตน์ เอี่ยมลออ และเจตนา วงษาสูง (2564). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 3(1): 16-31.
ธัชชัย จิตรนันท์ และจิราพร วิชระโภชน์. (2558). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(1): 95-108.
บังอร ฤทธิ์อุดม. (2560). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลทหารบก. 18(2): 203-211.
มัชฌิมา เส็งเล็ก, เรขา อรัญวงศ์, และเลอลักษณ์ โอทกานนท์ (2564) การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(2): 91-103.
มารุต พัฒผล. (2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จรัญสนิทวงศ์.
วราภรณ์ ศรีอยุธย์ และสายสุดา เตียเจริญ (2562). การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 10(2): 219-230.
วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์, อัครา ธรรมมาสถิตย์กุล, ปรียานุช วรวิกโฆษิต, ศรีหทัย เวลล์ส และ สมฤทัย ธีรเรืองสิริ (2563). การประเมินหลักสูตรสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา: แนวทางการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ. อินฟอร์เมชั่น. 27(2): 121-140.
วิชัย วงศ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.
สุภา นิลพงษ์. (2554). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต/มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
โสภา แซ่ลี. (2558). การประเมินโครงการคืนครูให้นักเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมิน CIPP Model สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต/มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู, มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ, ธิดาพร คมสัน, อรกานต์ เพชรคุ้ม และธนาภา สงค์สมบัติ. (2559). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1): 700-713.
Rooholamin A., Amini M., Bazrafkan L., Dehghani M. R., Esmaeilzadeh Z., Nabeiei P., Rezaee R. & Kojuri J. (2017). Program evaluation of an integrated basic science medical curriculum in Shiraz School, using CIPP evaluation model. Journal of Advances in Medical Education & Professionalism. 5(3): 148-154.
Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. The international handbook of educational evaluation, 31 – 62.